รูปแบบการสื่อสารแบรนด์หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาบนสื่อดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • เสริมศักดิ์ ขุนพล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

สื่อสารแบรนด์, สื่อดิจิทัล, หัตถกรรมท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารแบรนด์หัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาบนสื่อดิจิทัล โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 9 คน ได้แก่ สมาชิกกลุ่มหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านน้ำขาว ชาวบ้านในชุมชน ผู้ประกอบการและนักวิชาการสื่อออนไลน์ และการสำรวจสื่อดิจิทัลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับลูกปัดมโนราห์ 5 ประเภท ได้แก่ เฟสบุ๊ก ยูทูป เว็บไซต์ข่าว เสิร์ชเอนจิน และแอพพลิเคชั่นซื้อขายสินค้าออนไลน์  นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ตัวบทตามแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารแบรนด์ออนไลน์ของกลุ่มหัตถกรรมลูกปัดมโนราห์บ้านขาว ถูกนำเสนอโดยกลุ่มบุคคลจำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสื่อมวลชน กลุ่มบุคคลทั่วไป และเจ้าของสินค้า ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะถูกนำเสนอสื่อดิจิทัลผ่าน 5 แฟลตฟอร์ม ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยสื่อที่สร้างสรรค์ทั้งหมดผู้สร้างพยายามที่จะสื่อสารให้เกิดการรับรู้ตราสินค้าและบุคลิกภาพของแบรนด์ พร้อมทั้งคาดหวังว่าผลสะท้อนกลับซึ่งจะนำมาสู่ความเชื่อมั่นและผูกพันกับแบรนด์ในอนาคต โดยรูปแบบของการสื่อสารทั้งหมดต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในตัวผลิตภัณฑ์และเชื่อมโยงกับชุมชนจึงจะทำให้ผู้เปิดรับชมสื่อต้องการชมสื่อนั้นๆ ซึ่งกระบวนการนี้จะนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นและผูกพันกับแบรนด์จนนำไปสู่ตัดสินใจซื้อได้ในที่สุด

References

จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2555). การบริหารการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : ไดมอนอินบิซิเนส เวิร์ด

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มาริษา สุจิตวนิช และดวงใจ คงคาหลวง. (2563). แนวทางการสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มเจเนอเรชั่นเน็ต. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 153-166.

เมทิกา พ่วงแสงและหญิง มัทนัง, (2563).แนวทางการส่งเสริมการตลาดสําหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านบึงตําบลบ้านบึง อําเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 55-66.

วีระนันท์ คํานึงวุฒิ และอัญชนา กลิ่นเทียน, (2562).การพัฒนารูปแบบสื่อประชาสัมพันธ์และ การตลาดออนไลน์ สำหรับสินค้า OTOP ในประเทศไทย กรณีศึกษาสินค้า OTOP จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2), 32-45.

สุรชัย ศรีนรจันทร์ และ บุหงา ชัยสุวรรณ, (2562).กระบวนการสร้างตราสินค้าและการสื่อสารการตลาดออนไลน์สินค้าเกษตรอินทรีย์. วารสารวิชาการเกษตร, 37(2), 177-185.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา

ยรรยงวรกร ทองแย้ม และพัสกร ลี้วิศิษฏ์พัฒนา. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์โดยใช้อัตลักษณ์ท้องถิ่นในการสร้างแบรนด์ชุมชนกาแฟดอยเผ่าไทยของบ้านรักไทย อำเภอเนินมะปรางจังหวัดพิษณุโลก. วารสารบริหารธุรกิจนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(4), 55-68.

Hitesh Bhasin. (2021). What is Brand Communication?. Retrieved September 30, 2020, from https://www.marketing91.com/brand-communication/

Kotler, P. (2003). Marketing management. NJ: Prentice Hall, Upper Saddle River.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31