การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย
คำสำคัญ:
ธุรกิจโทรทัศน์, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการ
โทรทัศน์ไทยและรูปแบบของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้มีอํานาจระดับบริหาร ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนักวิชาการด้านสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคม ผลการวิจัย พบว่า การสื่อสารความรับผิดชอบของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทยแยกกันไม่ออกจากบทบาทหน้าที่ของวิทยุโทรทัศน์ที่มีต่อสังคม โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการกำหนดวัตถุประสงค์และเครื่องมือการสื่อสาร โดยใช้กลยุทธ์การสื่อสาร ได้แก่ (1) นำเสนอผ่านละครและรายการ (2) นำเสนอในมุมบันเทิง (3) ใช้ผู้มีชื่อเสียงขององค์กรในการสื่อสาร (4) สื่อสารอย่างชัดเจนและรวดเร็ว (5) สอดแทรกให้กลมกลืนเพื่อให้สามารถเข้าใจง่าย และ (6) ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังพบรูปแบบกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของกลุ่มผู้ประกอบการโทรทัศน์ไทย ได้แก่ (1) การนำเสนอประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านละครและรายการของสถานี โดยมุ่งเน้นการผลิตและนำเสนอละครและรายการที่ดีมีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อผู้ชม ควบคู่ไปกับความบันเทิง (2) สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะของหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ และ (3) การจัดกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักในประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
References
กองบรรณาธิการ ประชาชาติธุรกิจ และอนันตชัย ยูรประถม. (2550). พลัง
บริหารธุรกิจยุคใหม่ หนทางสู่ความมั่งคั่งอย่างมีคุณธรรม. กรุงเทพฯ: มติชน.
บีอีซี เวิลด์ (2559). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม 2559. กรุงเทพฯ: บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน).
บีอีซี เวิลด์ (2560). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน).
บีอีซี เวิลด์ (2561). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม 2561. กรุงเทพฯ: บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน).
บีอีซี เวิลด์ (2562). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม 2562. กรุงเทพฯ: บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน).
บีอีซี เวิลด์ (2563). รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม 2563. กรุงเทพฯ: บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน).
ประคุณ รุ่งธนวิชญ์ (2560). ความท้าทายของดิจิทัลทีวีไทยในยุคการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ประโยชน์จากสื่อโสตทัศน์ของประชาชน. วารสารวิชาการ กสทช. 1(1), 190-215.
ปาริชาต สถาปิตานนท์ และพิชญ์ณัฐ เนื่องจํานงค์. (2559). การสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ: จากแนวคิดสู่ปฏิบัติการ และเส้นทางการวิจัยในอนาคต. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 9(1), 73-91
ปาริชาติ หอมเกสร และรุจิระ โรจนประภายนต์. (2556). สถานภาพปัจจุบันของการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคม วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร. 18(20), 44-63.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ (2553). การจัดการความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการ. (2556). License (to operate) แบบไหนดี. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/101175.
วรพรรณ เอื้ออาภรณ์. (2558). การดำเนินกลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริพร มาลัยเปีย และดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์. (2561). ความสัมพันธ์ของการเปิดเผยความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อมูลค่าบริษัทอย่างยั่งยืน. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 10(2), 75-85
ศุภางค์ นันตา. (2552). หลักการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อความยั่งยืนขององค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: บริษัท เมจิก เพรส จำกัด.
สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2558). ธุรกิจสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมสุข หินวิมาน. (2552). เอกสารประกอบการสอน: ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อิทธิพล วรานุศุภากุล. (2560). การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชานิเทศศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kotler, P. & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: doing the most good for your company and your case. Hoboken, N.J.: John Wiley & Sons, Inc.
Ihlen, Ø, Bartlett, J. L., & May, S. (2011). Corporate social responsibility and communication. The handbook of communication and corporate social responsibility (pp. 3-22). Chichester, West Sussex: Wiley-Blckwell.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ