อิทธิพลของการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์ที่มีต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กฤชณัท แสนทวี วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การสอนออนไลน์, การยอมรับนวัตกรรม, การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากสื่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อัตราการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์ 2) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์ 3) อิทธิพลของปัจจัยด้านการยอมรับนวัตกรรมที่มีต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยอัตราการยอมรับนวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.26, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์มีช่องทางที่หลากหลาย (ค่าเฉลี่ย = 4.01, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.94) ในระดับมาก ส่วนค่าเฉลี่ยการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.33, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การเรียนในรูปแบบประชุมออนไลน์ทำให้สามารถเรียนจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ (ค่าเฉลี่ย = 3.82, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.06) ในระดับมาก ทั้งนี้ อิทธิพลของปัจจัยด้านการยอมรับนวัตกรรม ได้แก่ 1) สนใจเปลี่ยนมาใช้การเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์เนื่องจากมีความทันสมัย และ 2) การเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ สามารถร่วมกันมีอิทธิพลต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์ ได้ดีที่สุด ร้อยละ 65 (R-Square = 0.65)

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อสารมวลชน: ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

จักรกฤษณ์ โพดาพล.(2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/ การจัดการ เรียนรู้ออนไลน์-ดร.จักรกฤษณ์-โพด.pdf.

ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2558). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared) ผ่านเฟสบุ๊ก. การค้นคว้าอิสระ. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2560). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี, 1(2), 1-11.

พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี. (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สำหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย. วารสารสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ, 47-62.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2554). อาจารย์มหาวิทยาลัยกับการใช้คอมพิวเตอร์ในการสอน. เชียงใหม่: สำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนวัฒน์ ชาวโพธิ์ และ สุพรรณี บุญหนัก. (2563). การศึกษาความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. วารสารศรีล้านช้างปริทรรศน์, 6(2), 129-139.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบ ออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียน การสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, กิติศาอร เหล่าเหมณี, สินีนุช สุวรรณาภิชาติ, และ สุมิตร สุวรรณ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัสCovid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.

ศิรัส ปั้นเก่า. (2559). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาหารของกลุ่มพ่อบ้าน และกลุ่มแม่บ้านบนสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด - 19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-213.

สุรพงษ์ ทวีวัฒน์. (2547). พฤติกรรมและการยอมรับนวัตกรรมธุรกรรมการเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง (กรณีศึกษา บมจ. ธนาคารกสิกรไทย). วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สุวัฒน์ บรรลือ. (2560). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 11(2), 250-260.

Rogers, Everette M. (1995). Diffusion of Innovations. New York: the Free Press.

Wani, T. A. & Ali, S. W. (2015). Innovation diffusion theory: Review & scope in the study of adoption of smart phones in India. Journal of General Management Research, 3(2), 101-118.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31