ชนชั้นกองถ่าย: ภาพสะท้อนวิถีชีวิตสู่การเลือกปฏิบัติทางลำดับชั้น

ผู้แต่ง

  • ณัฐนันท์ เทียมเมฆ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ชนชั้นกองถ่าย, แรงงานใต้เส้น, การเลือกปฏิบัติ, อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบันทึกสถานการณ์ทางสังคมและสร้างความเข้าใจต่อความตื่นตัวทางชนชั้นในกองถ่ายของบุคลากรเบื้องหลังท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อสำรวจวิถีชีวิตของคนกองที่แปรผันไปสู่ประเด็นปัญหาเรื่องการเลือกปฏิบัติทางลำดับชั้น โดยอาศัยแนวคิดเรื่อง ‘เส้นแบ่ง’ ในการขยายภาพมิติด้านความสัมพันธ์ที่มีร่วมกันของคนกอง ผนวกเข้ากับแนวคิดเรื่อง ‘สิทธิพิเศษ’ เป็นเครื่องมือในการอธิบายปรากฎการณ์ที่ตกหล่นไปจากการศึกษาด้านบทบาทและตำแหน่งในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ นำไปสู่การค้นหาใจความสำคัญของความเหลื่อมล้ำในกองถ่ายผ่านปัจจัยต่าง ๆ ที่กลายเป็นจุดเปราะบางของแรงงานใต้เส้น อันเป็นปฏิบัติการทางวัฒนธรรมภายใต้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2562). ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่?. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566, จาก https://www.ipthailand.go.th/th/copyright-011/item/ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่.html

กฤชณัท แสนทวี. (2566). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารในภาวะวิกฤต COVID-19 จากหน่วยงานภาครัฐไทยของประชาชน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 11(1), 69-81.

กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์. (2566). โลกของกองถ่าย กับโครงสร้างความเหลื่อมล้ำ ในอุตสาหกรรมบันเทิงไทย. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก https://www.matichonweekly.com/column/article_646107

ข่าวสดออนไลน์. (2564). ดราม่าสะท้อนวงการละคร นักแสดงตัวประกอบ กินได้แต่น้ำเปล่า-แบ่งชนชั้นวรรณะ?. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566, จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6108977

เชิดพงษ์ เหล่ายนตร์. (2547). ผู้ช่วยผู้กำกับ ศูนย์กลางของจักรวาล. กรุงเทพฯ: Bioscope.

ณัฐนันท์ เทียมเมฆ และ เจษฎา ศาลาทอง. (2565). การสำรวจปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 30(1), 85-109

ณัฐนันท์ เทียมเมฆ. (2563). การสำรวจปัญหาและแนวทางพัฒนานโยบายเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูด. (2565). เบื้องหลัง: มุมดาร์กคนทำงานกองถ่าย. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566, จาก https://youtu.be/y1Aex2MjtnU

ศุภาวรรณ คงสุวรรณ์. (2563). THE UGLY TRUTH: ชั่วโมงการทำงาน ค่าแรง และความจริงที่เจ็บปวดของงานกองถ่าย. สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2566, จาก https://www.the101.world/the-ugly-truth-of-flimcrew/?fbclid=IwAR1vzsDlHCvaFuk-zhqumtcjZkKu2MdanYuQpK7AhMCwBpq4KiUg1FYS4w8

สหภาพแรงงานสร้างสรรค์. (2566). ค่าแรงต่ำ (และความเหลื่อมล้ำ) ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ฉุดรั้งการพัฒนาในทุกมิติ. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2566, จาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=207826421774098&set=a.171992122024195

สิพิม วิวัฒนวัฒนา. (2564). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้นตามสัญญาจ้างแรงงาน. คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

beartai BRIEF. (2565). ชนชั้นในกองถ่าย ปัญหาที่ถูก (รัฐ) เมิน?. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566, จาก https://youtu.be/V10RYUl2fLM

Caldwell, J. T. (2008). Production culture: Duke University Press.

Elder, D. (2014). A house divided - Budget top sheet. Retrieved September 22, 2023, from https://www.slideshare.net/DanielElder/a-house-divided-budget-top-sheet

Mayer, V., Banks, M. J., & Caldwell, J. T. (2009). Production studies: Cultural studies of media industries: Routledge. 54-67.

Mirror Thailand. (2566). คุยกับ ชา-ชณิฌา บุญภาณุวิจิตร เรื่องอำนาจนิยมและระบบชนชั้นวรรณะในกองถ่าย สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566, จาก https://mirrorthailand.com/life/100830

Tero Digital. (2564). ดราม่า! แบ่งชนชั้น นักแสดง - ตัวประกอบ หลังกองถ่าย มีจริงหรือ?. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2566, จาก https://youtu.be/2ZliCiNZjAo

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31