การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้แต่ง

  • ทิพนารี วีรวัฒโนดม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ระวิวรรณ วรรณวิไชย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • กิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์, วิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง, ปัญหาในการเรียนการสอนออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสำรวจสภาพการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ 2. เพื่อสำรวจปัญหาและอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง สาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ 1. อาจารย์ประจำสาขาวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง โดยใช้ประชากรทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน 5 คน 2. อาจารย์พิเศษจำนวน 2 ท่าน โดยประชากรทุกคนเป็นกลุ่มตัวอย่าง และ 3. นิสิตชั้นปีที่ 1-4 ของสาขาวิชาเอกการแสดงและกำกับการแสดง (ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษา 1-2 /ปีการศึกษา 2564 และ ภาคการศึกษา 1 /ปีการศึกษา 2565) รวมจำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงบรรยาย ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงสถิติพื้นฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน แนวการสอน และกลวิธีการสอนออนไลน์ ต้องให้ผู้เรียนได้เข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎีอย่างชัดเจนแล้ว จึงค่อยเข้าสู่แนวทางการปฏิบัติที่จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและมองภาพรวมได้มากขึ้น ด้านอุปกรณ์และสื่อประกอบการสอน พบว่า การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้เรียนและผู้สอน จะต้องใช้อุปกรณ์ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ไอแพด เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนได้เข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ได้มากที่สุด 3 ด้านกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอน พบว่า ด้านผู้สอนมีการใช้กิจกรรมเข้ามาช่วยในการประกอบการเรียนการสอนที่หลากหลาย และลดการบรรยายลง ให้เน้นไปในทางกิจกรรมเพื่อให้เกิดความน่าสนใจในแต่ละรายวิชา ด้านความพร้อมต่อการเรียนการสอนออนไลน์และแรงจูงใจในการเรียนออนไลน์ พบว่า ความพร้อมของการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นองค์ประกอบที่มีผลต่อการใช้ในกระบวนกรเรียนการสอนออนไลน์ด้านความเข้าใจในการเรียนของผู้เรียน พบว่า ในด้านความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียนออนไลน์ของผู้เรียนที่ได้รับนั้น จะไม่สามารถที่จะเท่ากันกับความเข้าใจที่ผู้เรียนได้เรียนภายในห้องเรียน ผู้สอนต้องมีการปรับกฎเกณฑ์การวัดผล เพื่อให้เป็นไปตามที่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงตามกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่ตั้งไว้

References

จันทนา วัฒนกาญจนะ, แพรวพรรณ ตรีชั้น, ธนาธิป พัวพรพงษ์, และวิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย. (2564). ประสิทธิภาพของการเรียนออนไลน์ จากสมรรถนะผู้สอนและการวัดประเมินผล กรณีศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 3(2), 1-13.

ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ, และกฤชณัท แสนทวี. (2565). อิทธิพลของการยอมรับนวัตกรรมการเรียนการสอนรูปแบบประชุมออนไลน์ที่มีต่อการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 2(20), 65-75.

ภิญโญ วงษ์ทอง. (2564). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์บนฐานชีวิตใหม่สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, วารสารรัชต์ภาคย์. 5(43), 101-117.

วไลพรรณ อาจารีวัฒนา, และปริญญาภรณ์ พจน์อริยะ. (2564). ความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยามในช่วงโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2566, จาก https://e-research.siam.edu/wp-content/uploads/2022/01/MBA-2021-IS-Online-Learning-Readiness-of-Students-at-Siam-University-in-Covid-19-by-Nattakarn-Hengpaijit.pdf

สุรชาติ พุทธิมา, และชโรชีนีย์ ชัยมินทร์. (2564). พฤติกรรมการเรียนแบบออนไลน์และความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ของนักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.chefile.cmru.ac.th/curriculum/2564/human/human_curriculum12/SAR4/KPI4.1/4.1-1-32(1).pdf

อริย์ธัช สมโชค, และวิษณุ สุทธิวรรณ. (2564). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ), Journal of Modern Learning Development. 6(5), 194-208

Ord, J. (2012). John Dewey and Experiential Learning: Developing the theory of youth work, Youth & Policy. 108(1), 55-72.

Roberts, J. W. (2012). Beyond learning by doing: Theoretical currents in experiential education. Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31