กลยุทธ์การสื่อสารนโยบายของพรรคการเมืองไทยจากป้ายหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566
คำสำคัญ:
การสื่อสารการเมือง , การเลือกตั้ง, นโยบายพรรคการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกลยุทธ์การสื่อสารนโยบายของพรรคการเมืองไทยจากป้ายหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข้อความเชิงนโยบายของพรรคการเมืองไทยจากป้ายหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 131 ข้อความ โดยใช้แนวคิดบริบทการพัฒนาประเทศ นโยบายทางการเมืองและการวิเคราะห์นโยบาย การสื่อสารและการหาเสียงทางการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์นโยบายจากป้ายหาเสียงเลือกตั้งโดยใช้กลยุทธ์การสื่อสารด้านการสะท้อนถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของผู้สมัครหรือของพรรคการเมืองมากที่สุด อันดับแรก ได้แก่ 1) การสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 2) การแก้ปัญหาให้กับประชาชน 3) การแสดงจุดยืนทางการเมือง 4) การแสดงความเหนือกว่าพรรคการเมืองอื่น รองลงมา คือ กลยุทธ์การสื่อสารด้านสังคมและทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ 1) สวัสดิการสังคม 2) การศึกษาและเรียนรู้ 3) ปรับปรุงกฎหมาย 4) สร้างความเท่าเทียมทางสังคม 5) ปราบปรามยาเสพติด 6) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อันดับ 3 คือ กลยุทธ์การสื่อสารด้านเศรษฐกิจ 1) เพิ่มค่าแรง เงินเดือน รายได้ประจำ 2) ลดค่าไฟฟ้าและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 3) ลดหย่อนภาษี 4) การให้เงินกู้และเงินทุนในการประกอบอาชีพ 5) การให้เงินสวัสดิการและเงินอุดหนุนทางเศรษฐกิจ 6) การสร้างโอกาสทางอาชีพและเศรษฐกิจ อันดับที่ 4 คือ กลยุทธ์การสื่อสารด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ได้แก่ 1) การแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ 2) การปรับปรุงและพัฒนาองค์กรทางทหารและตำรวจ 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ และอันดับที่ 5 คือ กลยุทธ์การสื่อสารด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การแก้ไขมลพิษทางอากาศ 2) ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง 3) การเพิ่มพื้นที่สีเขียว
References
เกษียร เตชะพีระ. (2563). เสรีนิยม: ความรู้ฉบับพกพา. กรุงเทพฯ: Bookscape.
กันต์ ศรีหล้า และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ. (2563). ผลกระทบของกระบวนการประชานิยมต่อรัฐไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 40(1), 7-19.
กิตติทัศน์ ผกาทอง. (2561). อุดมการณ์ทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตย. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต.http://pbs.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2018/05/17.-อุดมการณ์-206-215.pdf
คิด วรุณดี. (2566). อุดมการณ์ทางการเมืองสู่การพัฒนาการเมืองไทย. วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่. 1(1), 56-65.
ชนินธร ม้าทอง. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง. วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2(1), 163-175.
เดโช แขน้ำแก้ว. (2565). มโนทัศน์คุณภาพชีวิตที่ปรากฏในโลกสมัยใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(3), 800-812.
ยุทธศาสตร์ หน่อแก้ว. (2564). แนวทางประชานิยม: ภาพสะท้อนแนวคิดทางการเมืองเชิงโครงสร้างชนชั้นในสังคมไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 16(2), 15-30.
ไทยโพสต์. (2566). เปิดรายละเอียด 77 จังหวัดที่ กกต. เคาะเขตเลือกตั้งจังหวัดไหนมีกี่เขต ส.ส. กี่คน. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/politics-news/314542/
บดินทร์ธร บัวรอด.(2562). การวิเคราะห์นโยบายภาครัฐเพื่อการนำไปปฏิบัติ: ผลกระทบจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 11(3), 35-44.
ปนัดดา รักษาแก้ว. (2561). บทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของพลตำรวจเอกพงศพัศพงษ์เจริญ: ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2521-2560. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง), มหาวิทยาลัยเกริก.
พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2562). กลวิธีการใช้ภาษาในป้ายหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 24 มีนาคม 2562 กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 1. วารสาร สจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1(1-2), 1-7.
ภูวกฤต เหมหาชาติ. (2558). นโยบายประชานิยม. พุทธจักร. 19(4), 18-30.
ลดาวัลย์ ไข่คำ. (2024). อุดมการณ์์ทางการเมือง: Taylor’s Version. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 12(1), 142-155.
วัฒนา นนทชิต. (2558). การสื่อสารทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีเทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 3(1), 35-49.
สัญญา เคณาภูมิ. (2561). กระบวนการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะภายใต้กรอบแนวคิดทางรัฐประศานศาสตร์. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. 6(2), 1-19.
สุนันท์ เด่นดวง. (2564). อุดมการณ์ทางการเมืองของอดีตสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในเขตพื้นที่จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุเมธ ตั้งประเสริฐ. (2565). กลยุทธ์และวิธีการสื่อสารของพรรคการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5(1), 25-38.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม. พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
เอกสิทธิ์ อวยชัยวัฒน์. (2555). กลยุทธ์การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์. 11(12), 107-121.
iLAW. (2566). เลือกตั้ง 66 : รวมข้อมูลการเลือกตั้ง 2566. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.ilaw.or.th/node/6433
PPTV. (2566). เลือกตั้ง 2566: กกต.เปิดข้อมูลมี 86 พรรคพร้อมส่งผู้สมัคร. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.pptvhd36.com/news/news/สังคม/191193
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ