การออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์”

ผู้แต่ง

  • พนม จงกล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • ศาสตรพันธุ์ บุญน้อย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
  • กรกนก สนิทการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

คำสำคัญ:

การจัดแสดง, งานหัตถกรรม, เสื่อจันทบูร, นิทรรศการเสมือนจริง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับงานหัตถกรรมเสื่อจันทบูร 2) เพื่อออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์” 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์” เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร นำมาวิเคราะห์และออกแบบ จากนั้นทำการแบบประเมินรูปแบบนิทรรศการโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เครื่องมือแบบประเมินรูปแบบ และประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวบริเวณชุมชนริมน้ำจันทบูร จำนวน 97 คน จากวิธีการสุ่มแบบบังเอิญด้วยเครื่องมือแบบประเมินความพึงพอใจ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบสถิติ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณค่าในงานหัตถกรรมเสื่อจันทบูร ประกอบด้วย คุณค่าของลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น คุณค่าของงานวัสดุคือเส้นกกที่มีคุณสมบัติเหนียว ทน มีกระบวนการทอที่พิถีพิถัน คุณค่าความงามของลวดลายเสื่อ และคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอยที่สามารถนำมาผลิตเป็นสินค้าจนมีชื่อเสียง 2) แนวคิดในการออกแบบมีดังนี้ “แลจันท์” มีพื้นที่ 20 % ออกแบบผ่านเรื่องราวของดีในจันทบุรี และเสื่อจันทบูร “ปูเสื่อนั่งคุย” ใช้พื้นที่ 20 % แนวคิดที่แสดงความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ตกแต่งบรรยากาศเสมือนระเบียงริมนากก เพื่อให้ผู้ชมได้สัมผัสและรับรู้เรื่องราวของต้นกก “วิถีจันท์” ใช้พื้นที่ 40 % จัดแสดงประวัติของเสื่อจันทบูรและกระบวนการทอเสื่อผ่านภาพในแต่ช่วงเวลา และ “สานต่อ” ใช้พื้นที่ 20 % ใช้แนวคิดในการออกแบบจัดแสดงผลิตภัณฑ์เสื่อในห้องโชว์รูม 3) ผลการประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 คน พบว่าผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ระดับความพึงพอใจมากที่สุดเท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.56) โดยความสอดคล้องของเนื้อหากับภาพเท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.47) เนื้อหาสาระมีประโยชน์เท่ากับ 4.65  (S.D. = 0.50 ) และ การสื่อถึงภูมิปัญญางานหัตถกรรมเท่ากับ 4.65 (S.D. = 0.47)

References

กรมทรัพย์สินทางปัญญา. (2564). ประกาศโฆษณาการรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565, https://www.ipthailand.go.th/images/2284/GI61100108.pdf

กัลย์ธีรา สงวนตั้ง. (2554) การรับรู้คุณค่าและความสำคัญของงานออกแบบ ผ่านการจัดแสดงนิทรรศการ. Veridian E – Journal, Silpakorn University. 4(1), 56-75

ขวัญเนตร ปุญญถาวร. (2565). นิทรรศการสำนักงานสีเขียวเสมือนจริงของสำนักวิทยบริการ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2566, จาก https://pulinet2022.pulinet.org/wp-content/uploads/2022/08/OM-55.pdf

จิรยา ประพรต, ผู้จัดการเสน่ห์จันท์. 2565, ตุลาคม). สัมภาษณ์โดย พนม จงกล ที่ บ้านเสน่ห์จันท์

ดนัย เรียบสกุล (2566). การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม : สุโขทัย. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ตระกลูพันธ์ พัชรเมธา. (2559) ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมกับการพัฒนาสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 36(1), 67-80

ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2557) การสร้างมโนทัศน์เพื่อการคิดสร้างสรรค์ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์. ศิลปกรรมสาร. 9(2), 45-64

ปรีชาญา ครูเกษตร. (2565) การออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ นิทรรศการ. เจดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อมสถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่, 9(1), 2-25

พนม จงกล และคณะ. (2566) การศึกษาการจัดแสดงงานหัตถกรรมเพื่อหาแนวทางในการออกแบบนิทรรศการเสมือนจริงหัตถกรรมจันทบูร “เสน่ห์จันท์”. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 หน้า 704-713. กรุงเทพฯ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เพ็ญพรรณ เจริญพร. (2547) ภาษาในนิทรรศการ. ดำรงวิชาการ : วารสารรวมวิชาการ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. 3(5), 162-168

ภัทรบดี พิมพ์กิ และคณะ. (2562). นวัตกรรมสร้างสรรค์เครื่องประดับจากเสื่อกกด้วยเทคโนโลยีเครื่องตัดเลเซอร์เพื่อ เพิ่มมูลค่า. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2542). ศิลปะการจัดนิทรรศการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2565). หัตถกรรมท้องถิ่นเชียงใหม่ปรับตัวตามเทรนด์โลกชนะใจผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565 จาก https://www.cea.or.th/th/single-research/chiangmai-crafts.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์

สุชาติ แสนพิช. (2542). สภาพแวดล้อมเสมือนจริงด้วย 3 Dvista Virtual Tour 2023. กรุงเทพฯ: ดีเอฟ ดิจิตัล พริ้นท์ติ้ง.

สุเมธวิทย์ ชาวสุมบัว และ วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ (2558) ทำการศึกษาการจัดนิทรรศการการเรียนรู้ ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด เรื่อง อาเซียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 3(2), 49-62

เอื้ออารี จันทร. (2556) เอกสารประกอบการสอน สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเสมือนจริง. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2565 จาก https://eportfolio.dusit.ac.th/artefact/file/download.php?file=354153&view=19044

Demark Award (2561) DEmark winner. Retrieved August 2 2023, from https://demarkaward.net/th/demark_winner?page=3

Elstow, W. (2022) Chanthaboon Handwoven Mats. Retrieved September 6. 2022, from https://www.Thailandfoundation.or.th/th/culture_heritage/chanthaboon-handwoven- mats/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31