การสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, ผลิตภัณฑ์ใหม่, ผู้ประกอบการ, ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมบทคัดย่อ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 99.54 ของธุรกิจทั้งหมด และมีสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศคิดเป็นร้อยละ 35.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งหมด ซึ่งความท้าทายของผู้ประกอบการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการไม่มีนวัตกรรมในองค์การ สำหรับการสร้างนวัตกรรมในองค์การสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ นวัตกรรมบริการ นวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมการพัฒนาองค์การ เป็นต้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาโอกาสของผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งต้องอาศัยแหล่งข้อมูลจากทั้งภายนอกและภายใน โดยแหล่งข้อมูลภายนอกได้จากการศึกษาความต้องการของลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ขายวัตถุดิบ หรือการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในโอกาสต่าง ๆ ส่วนแหล่งข้อมูลภายใน ได้มาจากการปรับปรุงกระบวนการภายในองค์การและความคิดเห็นของพนักงานที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้า 2) การพัฒนาแนวคิด ซึ่งต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องการขายให้แก่ลูกค้ากลุ่มใด มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วหรือผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งอย่างไร และทำการประมาณต้นทุนการผลิตเพื่อกำหนดราคาขาย 3) การออกแบบและพัฒนา เป็นการวางแผนในการดำเนินการเริ่มตั้งแต่การวางเป้าหมายของเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ การคัดเลือกและการประเมินผลการคัดเลือกทางเลือก การพัฒนารูปแบบทางการตลาด รูปแบบการปฏิบัติการ และรูปแบบทางการเงิน 4) การตรวจสอบความถูกต้อง โดยทำการทดสอบการใช้ผลิตภัณฑ์โดยผู้ใช้ ทำการทดลองการตลาด และทดลองการผลิต และ 5) การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยผู้ประกอบการจะต้องคำนึงว่าผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในขั้นแนะนำ ขั้นเติบโต ขั้นอิ่มตัว หรือขั้นถดถอยของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่
References
พรมิตร กุลกาลยืนยง. (2565). แนวทางการพัฒนาองค์การภายหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10(2), 898-909.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขยาดย่อม. (2566). กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562 และประกาศเกี่ยวกับการกำหนดลักษณะของวิสาหกิจรายย่อย สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2566, จาก https://www.sme.go.th/mod_download/download-20201118145003.pdf.
Bstieler, L. and Noble, C.H. (2023). The PDMA Handbook of New Product Development. New Jersey: John Wiley & Sons.
Cooper, R.G. (2017). Winning at New Products: Creating Value Through Innovation. New York: Basic Books.
Cooper, R.G. (2019). The drivers of success in new-product development. Industrial Marketing Management. 76(1), 36-47.
Crawford, M. and Benedetto A.D. (2021). New Product Management. New York: McGraw-Hill.
Hisrich, R. and Kearney, C. (2014). Managing Innovation and Entrepreneurship. Los Angeles: SAGE Publications.
Kotler, P. and Keller, L.V. and Chernev, A. (2021). Marketing Management. Harlow: Pearson Education.
Kuratko, D.F. (2019). Entrepreneurship: Theory, Process, Practice. Boston: Cengage Learning.
Lam, A. (2005). Organizational Innovation, in Fagerberg, J. Mowery, D. and Nelson, R. The Oxford
Handbook of Innovation, pp. 115-147. New York: Oxford University Press.
Prajogo, D.L. (2016). The Strategic Fit between Innovation and Business Strategies in Delivering Business
Environment Performance. International Journal of Production Economics. 171(2), 241-249.
PriceWaterhouse. (2016). Global Innovation 1000 Study. New York: PWC Consultant. Retrieved
December 4, 2023, from https://www.pwc.com/innovationsurvey.
Rainey, D. (2015). Product Innovation: Leading Change Through Integrated Product Development.
New York: Cambridge University Press.
Rowley, J. Bargermen, A. and Sambrook, S. (2011). Towards and Innovation - Type Mapping Tool.
Management Decision. 49(1), 73-86.
Sallem, N.R.M. and Nasir, N.E.M. (2017). Small and Medium Enterprises: Critical Problems and Possible
Solution. International Business Management. 1(1), 47-52.
Smart, D.T. and Conant, J.S. (2011). Entrepreneurial Orientation, Distinctive Marketing Competencies and
Organizational Performance. Journal of Applied Business Research. 10(3), 28-38.
Tavassoli, S. and Karlsson, C. (2015). Innovation Strategies and Firm performance: Simple or Complex
Strategies?. Economics of Innovation and New Technology. 25(7), 631-650.
The Organisation for Economic Cooperation and Development Statistical Office of the European
Communities. (2018). Oslo Manual: Guidelines for Collecting, Reporting, and Using Data on Innovation. 4th Ed. Paris: OECD Publishing.
The Organization for Economic Cooperation and Development. (2023). Future-Proofing SME and
Entrepreneurship Policies. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.oecd.org/cfe/smes/key-issues-paper-oecd-sme-and-entrepreneurship-ministerial-meeting-2023.pdf
Tidd, J. and Bessant, J. (2020). Managing Innovation: Integrating Technological, Market and
Organizational Change. Cornwall: John Wiley & Sons.
Wang, C.L. and Altinay, L. (2012). Social Embeddedness, Entrepreneurial Orientation and Firm Growth in
Ethnic Minority Small Businesses in UK. International Small Business Journal. 30(1), 3-23.
Wiwatkitbhuwadol, N. (2023). The Art of Entrepreneurship: Navigating Success through Design for
Business. The Journal of Social Communication Innovation. 11(2), 162-170.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ