ประสิทธิภาพและประสิทธิผลส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์เพื่อสร้างโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต

ผู้แต่ง

  • อภินันท์ รังสูงเนิน คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุวิช ถิระโคตร คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มนัสวี แก่นอำพรพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

เบลนเดอร์, ส่วนเสริม, วัสดุ, 3 มิติ, จักรวาลนฤมิต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ในการจัดการพื้นผิวและวัสดุของโมเดล 3 มิติ ที่เหมาะสมกับการประมวลผลตามเวลาจริงในงานจักรวาลนฤมิต 2) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้งานส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ในการจัดการพื้นผิวและวัสดุของโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจงนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการผลิตแอนิเมชัน 3 มิติเบื้องต้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดล 3 มิติที่ได้จากการใช้งานส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ มีข้อมูล File size, Mesh vertices, Unique materials, Batches (Draw calls), Materials count, Materials memory use ลดลง และจำนวน Object ที่แสดงผลในเกมเอนจิ้น Unity โดยกำหนดค่า 60 เฟรมต่อวินาทีเพิ่มขึ้นร้อยละ 393.37 2) ผู้ใช้งานส่วนเสริมของซอฟต์แวร์เบลนเดอร์ในการจัดการพื้นผิวและวัสดุของโมเดล 3 มิติสำหรับจักรวาลนฤมิต มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.71

References

กาญจนา มัชเรศ. (2565). “เมืองทำมือ” ความเป็นไปได้ภายใต้เทคโนโลยี METAVERSE. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2567, จาก https://thecitizen.plus/node/52633

ชวลิต ดวงอุทา. (2565). สแกนสามมิติต้นทุนต่ำสำหรับสร้างฉากเกมเสมือนจริงกรณีศึกษาพัฒนาฉากอุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชร. วารสาร DEC Journal คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 1(2), 11-34.

เบญนภา พัฒนาพิภัทร. (2565). การพัฒนาภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ด้วยเทคโนโลยีตรวจจับการเคลื่อนไหว สำหรับฝึกท่ามวยไทยพื้นฐาน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(2), 52-63.

ปุญญรัตน์ รังสูงเนิน และสิริกานต์ ไชยสิทธิ์. (2565). การออกแบบและพัฒนารูปทรง 3 มิติ แนวจินตนิมิต สำหรับศึกษาองค์ประกอบเมืองเก่านครราชสีมา. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 13(1), 144-168.

Blender. (2023). About Blender. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2567, จาก https://www.blender.org/about

Chaos Software. (n.d.). Real-time rendering for architects and designers. Chaos Software. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2567, จาก https://www.chaos.com/real-time-rendering

Hristov, G., & Kinaneva, D. (2021, 11-13 June 2021). A Workflow for Developing Game Assets for Video Games. 2021 3rd International Congress on Human-Computer Interaction, Optimization and Robotic Applications (HORA)

Koulaxidis, G., & Xinogalos, S. (2022). Improving Mobile Game Performance with Basic Optimization Techniques in Unity. Modelling. 3(2), 201-223.

Lohikoski - Håkansson, L., & Rudén, E. (2013). Optimization of 3D Game Models: A qualitative research study in Unreal Development Kit. Bachelor Thesis, Technology and Environmental Studies, School of Natural Sciences, Södertörn University.

Rantakangas, P. (2020). Comparing medium poly workflow with traditional workflow Tampere University of Applied Sciences. Bachelor Thesis, Culture and Arts Interactive Media Program, Tampere University of Applied Sciences.

The Bangkok Insight Editorial Team. (2565). 9 เรื่องควรรู้กับจักรวาลนฤมิต โลกเสมือนแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2567, จาก https://www.thebangkokinsight.com/news/digital-economy/technology/813079

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-31