ลักษณะการใช้คำยอดฮิตในสื่อสังคมโลกออนไลน์ ประจำปี 2564-2566

ผู้แต่ง

  • สันติ ทิพนา คณะครุศาสตร์และการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ลักษณะการใช้คำ, คำยอดฮิต, สื่อสังคม, โลกออนไลน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้คำยอดฮิตในสื่อสังคมโลกออนไลน์ ประจำปี 2564-2566 โดยเก็บรวบรวมคำยอดฮิต 10 อันดับที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดในแต่ละปี ตั้งแต่ ปี 2564-2566 จำนวน 30 คำ จากเว็บไซต์ของ บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ชื่อเว็บไซต์ https://wisesight.com พบว่า มีลักษณะการใช้คำยอดฮิตในสื่อสังคมโลกออนไลน์ ประจำปี 2564-2566 ผลการวิจัยพบว่า คำยอดฮิตที่มาจากการสร้างคำใหม่ มากที่สุด พบจำนวน 7 คำ ได้แก่ ต้าว หิวแสง จึ้ง ตัวแม่ ตัวตึง แบบใหม่แบบสับ และแบบตะโกน รองลงมา คือ คำยอดฮิตที่มาจากคำพูดของบุคคล พบว่า  มี 6 คำ ได้แก่ “เราก็เท่ซะด้วย ทีนี้ก็ว้าวุ่นเลย” กรี๊ดสิครับ” “สภาพ” “ของมันต้องมี” “เต็มคาราเบล” และ “ต๊าช”  คำยอดฮิตที่มาจากเพลง พบว่า มี 5 เพลง 5 คำ ได้แก่ เพลง วาสนาผู้ใด ของ ปาร์ค Parkmalody เพลง รังสิตมันร้าย ของ ธนดล กรเกษม หรือไกด์ เพลง เลือดกรุ๊ปบี ของ เอิ้ก ชาลิสา หรืออีส มารูอ้วย เพลงฉลามชอบงับคุณ ของบอนซ์ ณดล ล้ำประเสริฐ และเพลงเอาปากกามาวง ของเบลล์ วริศรา จิตปรีดาสกุล คำยอดฮิตที่มีความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม พบว่า มี 5 คำ ได้แก่ ฉ่ำ ปัง จุก ๆ คนไทยคนแรก และคลั่งรัก คำยอดฮิตที่เปลี่ยนรูปเสียงและความหมาย พบว่า มี 3 คำ ได้แก่ น้อน แม๊ และของแทร่ คำยอดฮิตที่มาจากละคร พบว่า มี 2 เรื่อง 2 คำ ได้แก่ ตัวมารดา และ แน่นะวิ และคำยอดฮิตที่มาจากภาษาต่างประเทศ พบว่า มี 1 คำ คือคำว่า ช็อตฟีล” ตามลำดับ     

References

ซารีณา นอรอเอ และคณะ. (2558). ลักษณะการใช้ภาษาบนสื่อสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน.

การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 9. (หน้า 940-952). ณ ห้องประชุม Blue Ocean Hall อาคารคณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธีร์วรา แสงอินทร์. (2563). “ภาษาเพื่อการพาดหัวข่าวออนไลน์ในสื่อมวลชน”, วารสารวิชาการ กสทช. ประจำปี 2563. 4(4), 376-393.

ภานุวัฒน์ กองราช. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของวัยรุ่นในประเทศไทย: กรณีศึกษา Facebook. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบันทิต สาขาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วนิษา แก้วสุข. (2557). การศึกษาการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์กับการบริจาค กรณีศึกษามูลนิธิเพื่อสุนัขยากไร้ปี 2557. (การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิรินทิพย์ เด่นดวง. (2562). วัฒนธรรมไทยยุค 4.0: การใช้ภาษาของคนไทยในสื่อสังคมออนไลน์. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ระหว่างวันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2562. (น.1574-1582). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อลิสา อิสราภัทร์. (2564). ‘ปังปุริเย่’ วลีฮิตประจำปี 2564. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://wisesight.com/news/wordsoftheyear2021/

อลิสา อิสราภัทร์. (2566). คำศัพท์ยอดฮิตโซเชียลประจำปี 2566. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566, จาก https://www.brandbuffet.in.th/2023/12/the-most-popular-words-in-2023

อลิสา อิสราภัทร์, ภานุพันธ์ มะแอ และธรรมพร พึ่งตัว. (2565). รวมคำศัพท์โซเชียลสุดฮิตปี 2565. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://wisesight.com/th/news/social-media-slang-2022/

อังคณา แวซอเหาะ. (2564). การรู้เท่าทันสื่อ : ทักษะที่ต้องรู้และนำไปใช้ในยุคสื่อสังคมออนไลน์. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร. พระนคร. 1(1), 38-55.

อาทิตย์ เกษหอม. (2566). กลวิิธีีการสื่่อสารในบริิบทเฉพาะของพรรคไทยสร้้างไทย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 11(2), 150-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03

How to Cite

ทิพนา ส. (2024). ลักษณะการใช้คำยอดฮิตในสื่อสังคมโลกออนไลน์ ประจำปี 2564-2566. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 12(2), 81–92. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/273382