ประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการแพร่ภาพแพร่เสียง: กรณีการแข่งขันกีฬา

ผู้แต่ง

  • อิทธิพล วรานุศุภากุล นักวิชาการอิสระ กองบรรณาธิการประจำวารสารกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คำสำคัญ:

การแพร่เสียงแพร่ภาพ , กฎหมายลิขสิทธิ์ , กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป

บทคัดย่อ

เนื้อหาภาพและเสียงประเภทการแข่งขันกีฬาเป็นหนึ่งในประเภทรายการที่ยังสามารถดึงดูดให้ผู้ชมรับชมตามผังรายการได้ ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์จึงมีความต้องการที่จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬานั้น โดยต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องในการแพร่เสียงแพร่ภาพตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และเงื่อนไขการได้มาซึ่งสิทธิการแพร่เสียงแพร่ภาพจากเจ้าของลิขสิทธิ์  บทความฉบับนี้ได้อธิบายถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแพร่เสียงแพร่ภาพ รวมถึงกฎหมายลิขสิทธิ์  หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์หน้าที่ตามกฎหมายของผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (2) ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ (3) องค์กรกำกับดูแล (กสทช.) และ (4) เจ้าของลิขสิทธิ์  องค์กรกำกับดูแล (กสทช.) ควรพิจารณาแก้ไขปรับปรุงประกาศที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน และผู้ให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์

References

กสทช. (2565). รายงานการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ นัดพิเศษ ครั้งที่ 10/2565. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.nbtc.go.th/getattachment//Information/cabinet/รายงานการประชุม-กสทช/mati-2565/58302/รายงาน-นัดพิเศษ-10-65-ลงเว็บ-(ฉบับเต็ม).pdf

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2555). หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา, 129(118 ง), 14-16.

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการแข่งขันกีฬาที่สำคัญ. ราชกิจจานุเบกษา, 130(83 ง), 39-40.

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2556). หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา, 130(1 ง), 27-28.

นที ศุกลรัตน์ และณัฐชญา ทวีวิทย์ชาครียะ. (2559). แนวทางการขับเคลื่อนแนวนโยบายสาธารณะในกิจการโทรทัศน์ภายใต้กรอบกฎหมาย: กรณีกิจการโทรทัศน์และรายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้บริการเป็นการทั่วไป. วารสารวิชาการ กสทช. 1(1), 15-45.

นที ศุกลรัตน์ และณัฐชญา มะกะระธัช. (2563). หลักนิติธรรมและการขับเคลื่อนแนวนโยบายสาธารณะ: กรณีกิจการโทรทัศน์และรายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้บริการเป็นการทั่วไป. วารสารวิชาการ กสทช. 4(1), 14-26.

ประเสริฐ จรัญรัตนศรี. (2549). สิทธิในงานแพร่เสียงแพร่ภาพ. วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 9th Anniversary special issue 2006. 9(ฉบับพิเศษ), 160-178.

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. 125(42 ก), 61-91.

พิมพ์ชญา ภมรพล และเจษฎา ศาลาทอง. (2565). การสื่อสารในภาวะวิกฤตและการฟื้นฟูภาพลักษณ์ของสถานีโทรทัศน์เนชั่นทีวี. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 10(1), 109-123.

ศักดิ์พัฒน์ ธานี. (2561). การกำหนดการเผยแพร่รายการโทรทัศน์ตามหลักเกณฑ์ Must-Carry Rule และ Must-Have Rule: ศึกษากรณีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์. 11(3), 567-580.

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2559). รายการกีฬา: เนื้อหารายการสำหรับโทรทัศน์ดิจิทัล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 11(2), 201-216.

สาธิตา วิมลคุณารักษ์ และคณะ. (2566). การสำรวจและวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมด้านการแข่งขันในเชิงเนื้อหารายการ. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว. 13(2), 60-90.

อิทธิพล วรานุศุภากุล และพิรงรอง รามสูต. (2560). ความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ไทยของสถานีโทรทัศนระบบอนาล็อก ก่อนและหลังการกําเนิดของโทรทัศนระบบดิจิตอล. วารสารนิเทศศาสตรธุรกิจบัณฑิตย์. 11(1), 273-308.

FIFA. (2023). FIFA Annual Report 2022 Football Unites the World. Retrieved 17 May 2024, from https://digitalhub.fifa.com/m/2252cd6dfdadad73/original/FIFA-Annual-Report-2022-Football-Unites-The-World.pdf

ThaiPBS. (2567). กสทช. ถอด “ฟุตบอลโลก” จากกฎ “Must Have”. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2567, จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/338725

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03

How to Cite

วรานุศุภากุล อ. (2024). ประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการแพร่ภาพแพร่เสียง: กรณีการแข่งขันกีฬา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 12(2), 159–168. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/274054