ภาวะดิสโทเปียในแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง My Daemon
คำสำคัญ:
ดิสโทเปีย, ยูโทเปีย, แอนิเมชัน, ญี่ปุ่นบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาวะดิสโทเปียในแอนิเมชันญี่ปุ่นเรื่อง My Daemon (2023) ผ่านแนวคิดดิสโทเปีย อยู่บนพื้นฐานของ 2 คำถามคือ สังคมแบบดีสโทเปียอันเกิดจากความเจริญก้าวหน้า ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ตลอดจนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างไร และตัวบทแอนิเมชันได้เสนอทางออกให้กับสังคมอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ตัวบทแอนิเมชันเล่าเรื่องผ่านการเดินทางของเด็กชายชาวญี่ปุ่นผู้พยายามช่วยเหลือแม่ให้ฟื้นคืนชีพจากความตาย โดยโลกดิสโทเปียได้ถูกนำเสนอทั้งในฐานะพื้นที่แห่งความทรงจำบาดแผลจากภาวะสงครามนิวเคลียร์ที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องล่มสลาย นำมาซึ่งปัญหาเด็กกำพร้าและเด็กไร้บ้าน ขณะเดียวกันดีมอนซึ่งเป็นตัวละครหลักที่มีบทบาทในการดำเนินเรื่องได้ถูกประกอบสร้างความหมายเชิงสัญลักษณ์ในมิติที่หลากหลาย ทั้งการเป็นสัตว์ประหลาดที่น่าเกลียดและสกปรก เป็นภัยที่รุกรานพื้นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ เป็นภาพแทนของกลุ่มชนชั้นล่าง ตลอดจนเป็นสัญลักษณ์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ถูกทำให้สูญเสียสมดุลโดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ นอกจากนี้ ดีมอนยังเป็นตัวแทนของความหวังในการฟื้นฟูโลกให้เกิดสันติภาพและปลอดพ้นจากภาวะอันเลวร้ายของสงคราม ตัวบทแอนิเมชันจึงสะท้อนให้เห็นมโนทัศน์เกี่ยวกับการยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางโดยขาดการให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเป็นการวิพากษ์ยูโทเปีย อันสมบูรณ์แบบในอีกทางหนึ่ง การศึกษาตัวบทแอนิเมชันผ่านแนวคิดดีสโทเปียจะทำให้เรามองเห็นว่าตัวบทมิได้มีบทบาทเฉพาะมุ่งนำเสนอความบันเทิงในเชิงสุนทรียะเท่านั้น แต่ยังแฝงการนำเสนอภาพสังคมอันไม่พึงปรารถนาที่รอคอยให้มนุษย์ทำการฟื้นฟูเพื่อเข้าสู่ภาวะปกติผ่านการตระหนักรู้ถึงการครอบงำของวิทยาศาสตร์และหันมาสู่การสร้างสำนึกเชิงนิเวศเพื่อให้โลกเกิดความสมดุล
References
จันทร์ฉาย ภัคอธิคม. (2552). ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นสมัยใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชีวสิทธิ วีระเมธากุล. (2564). การศึกษาภาพยนตร์ดิสโทเปียกับการผสมผสานระหว่างตระกูลภาพยนตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 41(3), 1-11.
แถมสุข นุ่มนนท์. (2548). เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สายธาร.
นภสินธุ์ แผลงศร. (2552). รายงานการวิจัย วิเคราะห์นิทานพื้นบ้านญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นรีนุช ดำรงชัย. (2562). ญี่ปุ่นยุคร่วมสมัย: สังคม การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เพ็ญศรี กาญจโนมัย. (2540). สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ภัทรนันท์ ไวทยะสิน, อธิป เตชะพงศธร, สามินี รัตนยงศ์ไพโรจน์. (2561). “ความคิดรวบยอดและสไตล์” ในความสำคัญของการสื่อสารในการผลิตงานภาพยนตร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(1), 84-95.
ศฤงคาร พันธุพงศ์. (2540). ประวัติศาสตร์ยุโรป 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น. (2541). กระจกส่องญี่ปุ่น. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น.
สุทธิชัย บุณยะกาญจน์. (2533). การศึกษาเชิงวิเคราะห์นิยายวิทยาศาสตร์อเมริกันแนวดิสโทเปียในช่วง ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 1972 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
สุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2558). ต้นกำเนิดและอิทธิพลวรรณกรรม ยู, ดิส-โทเปีย. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2567, จาก https://prachatai.com/journal/2015/07/60233
Davisson. (2021). The Suicide Woods of Mt. FuJi. Retrieved May 29, 2024, from https://www.seekjapan.jp/the-suicide-woods-of-mt-fuji/
John Spacey. (2012). Why Foxes Get Respect in Japan. Retrieved May 30, 2024, from https://www.japan-talk.com/jt/new/inari
M. Keith Booker. (1995). The Dystopian Impulse in Modern Literature: Fiction as Social Criticism. Utopian Studies. 6(2), 147-149.
Philpott, S. & Mutimer, D. (2009). The United States of Amnesia: US Foreign Policy and the Recurrence of Innocence. Cambridge Review of International Affairs. 22(2), 301-317.
Stevenson, Angus. (2010). Oxford Dictionary of English. USA: Oxford University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ