การพัฒนาเกม 2 มิติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วรินทร์พิพัชร วัชรพงษ์เกษม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กมลรัตน์ สมใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • นิธินันท์ มาตา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • กนกเกล้า แกล้วกล้า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

การพัฒนาเกม, เกม 2 มิติ, การส่งเสริมการท่องเที่ยว, อาหารพื้นถิ่น, บุรีรัมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกม 2 มิติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบเกม 2 มิติ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้เล่นที่มีต่อเกม 2 มิติ คณะผู้วิจัยได้ดำเนินงานวิจัยแบบผสานวิธี เริ่มต้นด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเกม จำนวน 7 คน ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการตัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ นักท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เกม 2 มิติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบเกม 2 มิติ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อเกม เกม 2 มิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้เกม 2 มิติ ชื่อว่า “The Lost Recipes สูตรอาหารที่สาบสูญ” ซึ่งเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น โดยเป็นการนำเสนอการผจญภัยของตัวละครหลักที่ต้องเก็บวัตถุดิบตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อผสมสร้างเมนูอาหารพื้นถิ่น 2) ได้ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า เกมมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.58, S.D. = 0.58) และ 3) ได้ผลการประเมินความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวพบว่า มีความพึงพอใจต่อเกมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.62, S.D. = 0.60) ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้เกมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นนั้น สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคอื่น ๆ ได้

References

กรมการปกครอง. (2567). โครงสร้างข้อมูลสถิติจำนวนประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ระดับจังหวัด เดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2567. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2567, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByMooBan.php?year=66&month=12

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). ขนมตดหมา “๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” บุรีรัมภ์. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2024, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/214734

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา. (2563). COVID-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2563. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.mots.go.th/download/TourismEconomicReport/4-1TourismEconomicVol4.pdf

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://www.mots.go.th/download/article/article_20220127114136.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). บุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://thai.tourismthailand.org/Destinations/Provinces/บุรีรัมย์/572

กิ่งกนก เสาวภาวงศ์, จิราดร ถิ่นอ่วน และ ณัฐนรี สมิตร. (2561). การศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ระหว่าง อุด้ง เมืองมิซึซาวะ จังหวัดกุนมะ ประเทศญี่ปุ่น และข้าวซอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(พิเศษ), 340–355.

กิติสา วงศ์คำ, เชาฤทธิ์ โสภักดี, ศุภมาสชญา แตงภู่ และ ขวัญนภา วงศ์ไพศาลสิริกุล. (2560). การอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิต ความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรจังหวัดบุรีรัมย์. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ถ่ายเอกสาร.

เขมชนินทร์ พรพิพัฒน์สกุล. (2564). 8 องค์ประกอบของความสนุก (8 kind of fun) หลักสำคัญในการสร้างเกมเพื่อผู้คน. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://medium.com/in-game-by-memore/บันทึกของวิน-12-8-องค์ประกอบของความสนุก-หลักสำคัญในการสร้างเกมเพื่อผู้คน-c8d68622d50

ชวรินทร์ สุดสวาท, อติคุณ เลรามัญ, นภัสนันท์ วินิจวรกิจกุล, สุประภา สมนักพงษ์ และ อนัญญา รัตนประเสริฐ. (2565). การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นบ้านล้านนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 11(2), 406–409.

ณัฐกมล ถุงสุวรรณ และ ศุภกรณ์ ดิษฐพันธ์. (2564). การพัฒนาเกมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดเกมิฟิเคชัน กรณีศึกษาจังหวัดน่าน. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 8(2), 26–42.

ณัฐกมล ถุงสุวรรณ. (2562). การพัฒนาเกมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้แนวคิดเกมิฟิเคชัน (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566, จาก https://digital.car.chula.ac.th/cgi/viewcontent.cgi?article=10716&context=chulaetd

ตวง เธียรธนู. (2557). สรุปบรรยาย MDA Workshop โดย Robin Hunicke ที่ศรีปทุม. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://tuangd.com/2014/12/11/mda/

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประอรพิต กัษฐวัฒนา. (2566). ใช้ Soft power “อาหารไทย” สร้างจุดเด่นให้ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) คืนรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.salika.co/2023/11/22/soft-power-gastronomy-tourism/

ปรีชา มุณีศรี, สาวิตรี มุณีศรี, ดวงเดือน สงฤทธิ์ และ เจษฎา ร่มเย็น. (2563). การสร้างอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นและกลไกส่งเสริม การท่องเที่ยวชุมชนอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. (รายงานการวิจัย). นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2562). การผลิตสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พชรณัฏฐ์ ไค่นุ่นภา และ กิตติพงษ์ แก้วประเสริฐ. (2564). การผลิตเกมแอนิเมชันเพื่อเพิ่มมูลค่าและสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในเขตเมืองกาญจนบุรีให้เป็นการท่องเที่ยวแบบดิจิทัล. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13(4), 212-227.

พนิดา จงสุขสมสกุล. (2566). การเล่าเรื่องอาหารพื้นถิ่นอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการขับเคลื่อนเมืองท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก. มนุษยศาสตร์สาร. 24(1), 63-83.

พรมิตร กุลกาลยืนยง. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในคุ้งบางกะเจ้า. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 9(1), 32–41.

พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ. (2560). สุนทรียะและการออกแบบเกมมิฟิเคชัน สำหรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวรอบ เกาะกรุงรัตนโกสินทร์. Veridian E-Journal Silpakorn University: ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(2), 2883–2963.

วรรณภา อุดมผล. (2565). การศึกษาระดับศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. (รายงานการวิจัย). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2567, จาก https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/5123/1/2566_046.pdf

เศรษฐศิลป พูนบำเพ็ญ. (2564). Newzoo เผยสถิติ ชาวไทยราว 95% นิยมเล่นเกมมือถือ. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.gamingdose.com/news/newzoo-เผยสถิติ-ชาวไทยราว-95-นิย/

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/03f2017052216244626.pdf

อนุรักษ์ พาสวรรค์, ไพรสันต์ สุวรรณศรี และ พิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2567). “การพัฒนาเกมสถานการณ์จำลองท่องเที่ยววิถีช้าง”, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่ชุมชน, 2(4), 17–29.

อิสระพงษ์ พลธานี และ อุมาพร บุญเพชรแก้ว. (2561). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38(5), 18–39.

แอลทีแมน. (2562). Pokémon GO เกมที่สร้างรายได้แสนล้าน. สืบค้น 15 มีนาคม 2567, จาก https://www.longtunman.com/17876

Dunham, J. (2021). Location based games and the people who play them. In Extended Abstracts of the 2021 Annual Symposium on Computer-Human Interaction in Play (pp. 394-396). Retrieved June 14, 2024, from http://doi.org/10.1145/3450337.3483514

Baalsrud Hauge, J., Söbke, H., Stefan, I. A., & Stefan, A. (2020). Applying and facilitating serious location-based games. In International Conference on Entertainment Computing (pp. 104-109). Cham: Springer International Publishing. Retrieved June 14, 2024, from http://doi.org/10.1007/978-3-030-65736-9_8

Hill, S. (2023). The Most Popular Location Based Games You Should Know in 2023. Retrieved January 2, 2024, from https://www.imyfone.com/change-location/location-based-games/#2

Hunicke, R., LeBlanc, M., & Zubek, R. (2004). MDA: A formal approach to game design and game research. Proceedings of the AAAI Workshop on Challenges in Game AI. 4(1). Retrieved March 15, 2024, from https://cdn.aaai.org/Workshops/2004/WS-04-04/WS04-04-001.pdf

Hurley, L. (2017). How to make a videogame (with no experience). Retrieved March 15, 2024, from https://www.gamesradar.com/how-to-make-a-videogame-with-no-experience/

Ramadan, R., & Widyani, Y. (2013). Game development life cycle guidelines. In 2013 International Conference on Advanced Computer Science and Information Systems (ICACSIS) (pp. 95-100). IEEE. Retrieved January 26, 2024, from https://ieeexplore.ieee.org/abstract/document/6761558/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03

How to Cite

วัชรพงษ์เกษม ว., สมใจ ก. ., มาตา น., & แกล้วกล้า ก. (2024). การพัฒนาเกม 2 มิติ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่น อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 12(2), 66–80. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/276626