ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจหมุนเวียน
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการยอมรับ, ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจหมุนเวียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมการยอมรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจหมุนเวียนในกลุ่มคนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการได้ด้วยตนเอง อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนรวมทั้งสิ้น 456 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการยอมรับผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบเพื่อความยั่งยืน รีไซเคิลได้ 100% หรือนำกลับไปใช้ซ้ำได้ง่าย (ร้อยละ 81.4) มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้กระบวนการ upcycle ซึ่งมีการยอมรับน้อยที่สุด (ร้อยละ 33.3) อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ผู้คนไม่สนใจเลือกซื้อหรือใช้บริการที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจหมุนเวียนนั้นเป็นเรื่องของ “ข้อมูล” ที่ไม่สะท้อนให้เห็นความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 54.2) รวมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับความยั่งยืนไม่ชัดเจน (ร้อยละ 52.9) มากกว่าเรื่องของราคาสูง (ร้อยละ 39) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจหมุนเวียนมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์/บริการ ปัจจัยด้านการสื่อสารความน่าเชื่อถือของแบรนด์และการให้ข้อมูลที่ชัดเจน และปัจจัยด้านช่องทางการเข้าถึง/ใช้สินค้า/บริการ (ความสะดวกสบาย) โดยปัจจัยด้านราคา/ความคุ้มค่าเป็นปัจจัยที่กลุ่มตัวอย่างพิจารณาว่ามีความสำคัญน้อยที่สุดต่อการตัดสินใจยอมรับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สอดคล้องกับโมเดลธุรกิจหมุนเวียน
References
ฉกาชาต สุขโพธิ์เพ็ชร์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ ออล สตาร์ กอล์ฟ คอมเพล็กซ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2547). การจัดการและการบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พัทธ์ธีรา วงศราวิทย์. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2566,
จาก https://www.prachachat.net/columns/news-169313
พิชชา กิมวานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเตอร์เน็ตของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. เอกสารการค้นคว้าอิสระ โครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำหรับผู้ประกอบการยุคใหม่, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พิชญ์สินี ชี้ทางดี. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล. เอกสารการค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทราพร แย้มละออ. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน – โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก http://www.salforest.com/blog/circular_economy.
รติมา คชนันท์. (2562). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy). สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2566, จาก https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
เลิศลักษณ์ เจริญสมบัติ. (2564). การประยุกต์ใช้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนกับวิสาหกิจชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 24(1), 145-155.
วีระศักดิ์ สุตัณฑวิบูลย์. (2562). เศรษฐกิจหมุนเวียน. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567, จาก
http://prachachat.net/finance/news-384463
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายเพื่อสินค้าและบริการรักษ์โลก. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2567, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Green-FB-12-10-21.aspx
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2562). เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ทุกคนควรรู้. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2566, จาก https://www.mhesi.go.th/images/STBookSeries/ BS003Circular Economy.pdf
อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2558). การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเครือข่ายตลาดสีเขียว. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 3(1), 26-37.
Delmas, M., & Burbano, V. (2011). The Drivers of Greenwashing. California Management
Review. 54(1), 64-87 https://doi.org/10.1525/cmr.2011.54.1.64.
Ellen McArthur Foundation. (2019). The Circular Economy in Detail. Retrieved 29 November 2021, from https://archive.ellenmacarthurfoundation.org/explore/the-Circular-economy-in-detail
Gleim, M., & Lawson, S. (2014). Spanning the gap: An examination of the factors leading to the green gap. Journal of Consumer Marketing. 31, 503-514. https://doi.org/10.1108/JCM-05-2014-0988.
OKMD. (2021). Upcycle เทรนด์ใหม่ของคนสายกรีน. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567, จาก https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4396/
SD Thailand. (16 august 2024). ราคาสูง-ทางเลือกน้อย อุปสรรคตลาดสินค้ายั่งยืน ด้านผู้บริโภคแม้ส่วนใหญ่รู้สึกดีกับแบรนด์รักษ์โลก แต่การตัดสินใจซื้อยังต่ำ. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567, จาก
https://www.sdthailand.com/2024/08/consumers-insight-and-spending-of-ecofriendly-products/
Techsauce Team. (มกราคม 10, 2020). CMMU ชี้เทรนด์ตลาดปี 2020 สินค้า “โลกสวยแบบมงลง” มีโอกาสขาย ได้สูงกว่า 70%. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567, จาก https://techsauce.co/pr-news/cmmu-trend-marketing-voice-of-green-2020#:~:text=วิทยาลัยการจัดการ%20มหาวิทยาลัยมหิดล,หาเฉพาะผลิตภัณฑ์อีโค่.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ