การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนประกันวินาศภัยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ประสิทธิภาพกองทุนประกันวินาศภัย, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, Administration, efficiency, the General Insurance Funds, the Sufficiency Economy Philosophyบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนประกันวินาศภัยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนประกันวินาศภัยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (3) ศึกษาตัวแบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนประกันวินาศภัยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบผสมผสานโดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลักและใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นข้อมูลเสริม การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบเพื่อหาค่าความเที่ยงตรง ประชากร คือพนักงานบริษัทประกันภัย จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทไทยศรีประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท นำสินประกันภยั จำกัด (มหาชน) รวมจำนวน 1,006 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานประชาชนดังกล่าวทั้งหมด จำนวน1,006 คน อันเป็นการนำประชากรทั้งหมดมาเป็นกลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมลู สนามดำเนิน การระหว่างวันที่ 1 - 31 พฤศจิกายน 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลกลับคืนมาได้จำนวน 838 คน คิดเป็นร้อยละ 83.30 ของประชากรทั้งหมด 1,006 คน วิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการถดถอย พหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 9 คน ด้วยแบบสอบถามเชิงลึกที่มีโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กองทุนประกันวินาศภัยดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยอย่างเคร่งครัด และขาดความยืดหยุ่น รวมทั้งขาดตัวแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสม (2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กองทุนประกันวินาศภัยควรดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยอย่างยืดหยุ่น เช่น การผ่อนปรน หรือการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย และ (3) ตัวแบบการบริหารจัดการที่สำคัญคือ กองทุนประกันวินาศภัยควรนำ ตัวแบบการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกองทุนประกันวินาศภัยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 ด้านมาปรับใช้เป็นตัวชี้วัด หรือกลุ่มตัวชี้วัดสำคัญของการปฏิบัติงาน โดยตัวแบบการบริหารจัดการดังกล่าวนี้ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านการสร้างเครือข่าย ด้านความมีเหตุผล ด้านความสมดุลและการพัฒนาที่ยั่งยืน และด้านความรู้และคุณธรรมคำ
Administration To Efficiency Increase of The General Insurance Funds According To The Sufficiency Economy Philosophy
Objectives of this research were to (1) explore administrative problems of efficiency increase of the General Insurance Funds according to the Sufficiency Economy Philosophy, (2) explore development guidelines of administration to efficiency increase of the General Insurance Funds according to the Sufficiency Economy Philosophy, and (3) explore administrative model of administration to efficiency increase of the General Insurance Funds according to the Sufficiency Economy Philosophy. Methodology of this research was performed the research design as mixed methods research stressing quantitative research as principal means and supported by qualitative research. The quantitative research was survey research collecting large field data with questionnaire. The questionnaire passed pretest of reliability Population was 1,006 insurance personnel in 2 public limited companies: the Thaisri Insurance Public Limited Company and the Numsin Insurance Public Limited Company. The total of 1,006 population was used as samples. Field data collection was exercised during November 1-31, 2015, and total of 838 completed sets of questionnaire which equaled with 83.30% of the 1,006 total samples were returned. Data analysis was manifested in contingency table with descriptive approach. Descriptive statistics utilized were mean, standard deviation, multiple regression, and Pearson’s Correlation Coefficient. For qualitative data, in-depth interview of 9 experts or key informants with structured in-depth interview form was applied. Research findings were (1) the crucial administrative problems were the General Insurance Funds’ operation of insurance reimbursement to the assured strictly without flexibility as well as lacking of appropriate administrative model, (2) for the crucial development guidelines of administration, the General Insurance Funds should operate the insurance reimbursement to the assured with flexibility, for example, relief or insurance reimbursement to the assured appropriately and coincide with the needs of the assured, and (3) for the administrative model, the General Insurance Funds should apply the model of administration to efficiency increase of the General Insurance Funds according to the Sufficiency Economy Philosophy of 5 aspects as the indicators or key performance indicators, and the administrative model should consist respectively of self-immunity, networking establishment, rationality, balance and sustainable development, and both knowledge and morality.Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ