การรับรู้ข่าวสาร ความรู้ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรค กระดูกพรุนของประชาชนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ยุพารัตน์ อดกลั้น สาขาการส่งเสริมสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ นครนายก
  • ชนญญา ชัยวงศ์โรจน์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพฯ
  • ศรีรัฐ ภักดีรณชิต วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพฯ
  • วรินทร์ กฤตยาเกียรณ ภาควิชาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร, โรคกระดูกพรุน, จังหวัดนครนายก, Information exposure, Osteoporosis, Nakhon-Nayok province

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนของประชาชนในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional study) ในประชากรผู้สูงอายุเพศชาย และหญิง จำนวน 122 คน อายุเฉลี่ย70 ปี ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล 9 เดือน ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ข่าวสาร ส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารจากสื่ออื่นๆ เช่น แผ่นพับ, โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์, อาสาสมัครสาธารณสุขและเสียงตามสายในชุมชน เป็นต้นรองลงมาคือ วิทยุโทรทัศน์ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เรื่องโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับต่ำ ทั้งในเรื่องอาหาร การทำกิจกรรม การออกกำลังกาย โดยมีความรู้ในเรื่องสาเหตุโรคกระดูกพรุนและการป้องกันโรคกระดูกพรุนอยู่ในระดับต่ำมาก การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำ การรับรู้ข่าวสารเรื่องการป้องกันโรคกระดูกพรุน มีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะประชากรด้านอาชีพ ปัจจัยด้านความรู้ มีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะประชากรคือ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการมีเด็กหรือไม่มีเด็กอยู่ในครัวเรือน ปัจจัยด้านการปฏิบัติตน มีความแตกต่างกันตามคุณลักษณะประชากร คือ อาชีพ และการมีเด็กหรือไม่มีเด็กอยู่ในครัวเรือน

 

Information Exposure level, Knowledge and Practice in Prevention of Osteoporosis in Ongkharak district, Nakhon-Nayok Province

The purpose of this study is to study the information exposure level, knowledge and practice in prevention of osteoporosis of the people in Ongkharak district, Nakhon-Nayok Province. The data showed low level of information exposure concerning osteoporosis prevention. Most of the participants received news from other sources for example, brochures, posters, local health volunteers and local radio announcement. The second is television. Still, the subjects had low level of knowledge about prevention of osteoporosis in terms of food, exercises, activities and prevention. Most of the subjects reported a very low level of prevention practice. Information exposure about osteoporosis prevention differed among demographic factors which were age, education levels, occupations, monthly income and number of children in household.

Downloads