ผลการพัฒนาชุดการสอนมินิคอร์ส บนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่องการถ่ายภาพในสตูดิโอ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล
คำสำคัญ:
ชุดการสอน, มินิคอร์ส, บทเรียน, ไอโอเอส, โมบายเลิร์นนิ่ง, การถ่ายภาพในสตูดิโอ, instructional package, Mini Course, Lesson, iOS, Mobile Learning, Studio Photographyบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่อง การถ่ายภาพในสตูดิโอ สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนิสิตที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่อง การถ่ายภาพในสตูดิโอ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่อง การถ่ายภาพในสตูดิโอเครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอน ชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความพึงพอใจ นำชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS ไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็น นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 วิชาเอกการผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sample) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ทำการเรียนด้วยชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS ทำแบบทดสอบระหว่างเรียน เมื่อจบครบทุกเนื้อหาหน่วยการเรียนให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพชุดการสอนโดยใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t-test for Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาประสิทธิภาพชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่อง การถ่ายภาพใน สตูดิโอ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.07/81.07 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนมินิคอร์สบนระบบปฏิบัติการ iOS เรื่อง การถ่ายภาพในสตูดิโออยู่ในระดับดีมาก(= 4.75 SD.=0.14)
Development of Mini Course Instructional Package on iOS Operating System on Studio Photography for Undergraduate Student in Cinema and Digital Media Production Major
This purposes of this research are 1) to develop the efficient mini course instructional package on iOS operating system on studio photography for Undergraduate Student in Cinema and Digital Media Production major 2) to study pre-test and post-test achievement of the mini course instructional package on iOS operating system on studio photography and 3) to study the satisfaction of the students with the mini course instructional package on iOS operating system on studio photography. The research tools were the lesson plan, the mini course instructional package on iOS operating system , the achievement tests and questionnaire for investigation of learner’s satisfaction Included is samples and thirty two students from Undergraduate Student in Cinema and Digital Media Production major in College of Social Communication Innovation Srinakharinwirot University by purposive sample method were studied through mini course instructional package on iOS operating system They were enrolled in the second semester of 2016 academic year. Pretest and posttest were used for evaluation of learning achievement. After completing the course, the questionnaire was distributed to investigate learner’s satisfaction. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation and dependent samples of t-test. The study showed that 1)The efficiency test on the mini course instructional package on iOS operating system on studio photography had the efficiency (E1/E2) of 81.07/81.07 following the criteria set at 80/80 2) The result of post-achievement of the mini course instructional package on iOS operating system on studio photography is significantly higher than the one of pre-achievement at the level of 0.5 3) The sample was satisfied with mini course instructional package on iOS operating system on studio photography on the excellent level (= 4.75 SD.=0.14)
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ