พิธีกรรมฟ้อนผีมด : การสื่อสารระหว่างมิติในมุมมองคติชนวิทยา

ผู้แต่ง

  • ณัฐภัทร์ สุรินทร์วงศ์ สาขาคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • บารนี บุญทรง ภาควิชาคติชนวิทยา ปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศว

คำสำคัญ:

พิธีกรรมฟ้อนผีมด, การสื่อสารระหว่างมิติ, มิติเหนือโลก, คติชนวิทยา, Fon Phi Mod Ritual, interdimensional communication, metaphysical dimension, Folklore

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาพิธีกรรมฟ้อนผีมดบ้านดอกบัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและคุณลักษณะของการสื่อสารระหว่างมิติในมุมมองทางคติชนวิทยา ทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีการสื่อสารและทฤษฎีคติชนวิทยา 3 มิติ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการทำงานภาคสนาม ณ จังหวัดลำปางตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558 ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2560 ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมฟ้อนผีมดบ้านดอกบัวมีองค์ประกอบ 4 ข้อ สอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสารของเบอร์โล ประกอบด้วย 1) ผีมด (sender) 2) สาร (message) 3) ม้าขี่ (channel) และ 4) ผู้รับสาร (receiver)  อีกทั้งพบว่าพิธีกรรมฟ้อนผีมดบ้านดอกบัวสอดคล้องกับทฤษฎีคติชนวิทยา 3 มิติในส่วนของมิติเหนือโลก

 

FON PHI MOD RITUAL OF BAN DOK BUA : THE INTERDIMENSIONAL COMMUNICATION IN FOLKLORE PERSPECTIVE

This article proposes Fon Phi Mod ritual of Ban Dok Bua. The objective of the study is to analyze the elements and characteristics of interdimensional communication of Fon Phi Mod ritual in folklore perspective. Berlo’s SMCR Model of Communication and theory of Three Dimensions of Folklore were employed in this study. The data was collected from fieldwork at Lampang Province from May 2015 to April 2016   It was found that Fon Phi Mod ritual of Ban Dok Bua consisted of the 4 elements mentioned in Berlo’s model. These 4 elements were 1) sender (Phi Mod) 2) message 3) channel (Maa Khi) and 4) receiver.  It has been found also that this ritual conformed with theory of Three Dimensions of Folklore in the part of metaphysical dimension.

Downloads