การสร้างรูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย
คำสำคัญ:
การสร้างรูปแบบกิจกรรมนันทนาการ, การท่องเที่ยว, Formation of Recreation, Tourismบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง การสร้างรูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย เป็นงานวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ 1.เพื่อศึกษาความต้องการการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2.เพื่อเปรียบเทียบความต้องการการจัดกิจกรรมนันทนาการของนักท่องเที่ยวตามตัวแปรเพศ และ 3.เพื่อสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.วิจัยเชิงปริมาณ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยากับบริษัทนำเที่ยว จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิธีการทางสถิติและการวิเคราะห์นำเสนอข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลสถิติเชิงอนุมาน ด้วยการวิเคราะห์แบบเชิงพหุ และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย 2.วิจัยเชิงคุณภาพ คือ มัคคุเทศก์ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการพบว่านักท่องเทียวชาวไทยมีความต้องการการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ความต้องการความสำเร็จ =4.14) ความต้องการทางกายภาพ (=4.13) ความต้องการได้รับความยกย่องนับถือ (= 4.11) และ ความต้องการทางความปลอดภัยและความต้องการความรัก (=4.06) ตามลำดับ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากนักท่องเที่ยว จำแนกตามเพศ พบว่า ในภาพรวมระดับความต้องการการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวระหว่างเพศชาย และเพศหญิงไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 รูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย ผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบกิจกรรม ไว้ 2 รูปแบบ คือ กิจกรรมนันทนาการระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งรูปแบบนี้จะกระทำบนรถบัส และ กิจกรรมนันทนาการระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งรูปแบบนี้จะกระทำในสถานที่ท่องเที่ยวจริง ในการจัดรูปแบบกิจกรรมนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยวแบบหมู่คณะของนักท่องเที่ยวชาวไทย จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสิ่งสำคัญ และกิจกรรมนั้นจะเสริมสร้างความสนุกสนานและความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางมาท่องเที่ยว
THE CREATION OF RECREATIONAL ACTIVITY PATTERNS FOR THAI GROUPED TRAVELLING
Research on Formation of Recreation for Thai Tourist Group is study using Mixed Method with the objective to 1) Study the recreation activities demand of Thai tourist, 2) compare the demand of Thai tourist by gender variable, and 3) form the recreation for Thai tour group. Researcher has set 2 samples; 1) Quantitative Research on 400 Thai tourists visit Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, using questionnaire, statistical method, analysis with descriptive statistics, and Inferential statistics using multivariate analysis and average comparison, 2) Qualitative Research on 3 tour guides, using questionnaire and content analysis. This study aims to investigate the recreational activities needs of tourists and compare the tourists’ needs of recreational activities with gender variables. Descriptive and inferential statistics are used with an analysis of multiple regression and T-test. The results revealed that Thai tourists’ needs of activities creation is totally at high level with an average in descending order as follows: success needs (=4.14), physical needs (=4.13) esteem needs (= 4.11) and safety and affection needs (=4.06). In addition, the analysis result of tourists’ data distinguished by gender showed that the overall needs of recreational activities creation for tourism between male and female tourists was not statistically significant difference at 0.05. The formation of recreation activities for Thai tourist group; researcher has detailed the activities in 2 formations; 1) recreational activities occurred during their travel on bus, and 2) the recreation during their travel which occurred on the field trip and place of interest. In this regards, the recreational activities must be created on the basis of tourists’ safety and, importantly, the activities must create the fun, entertained atmosphere, and impression for tourists
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ