การดำรงอยู่ของนาฏศิลป์ไทยในยุคประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • ภาณุรัชต์ บุญส่ง โรงเรียนสาธิตนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การดำรงอยู่ของนาฏศิลป์ในปัจจุบัน, นาฏศิลป์ไทยกับประเทศไทย 4.0, Existence of current Thai dance, Thai dance and Thailand 4.0

บทคัดย่อ

นาฏศิลป์ไทยไม่ได้เป็นเพียงแต่การฟ้อนรำเพื่อบวงสรวง หรือประกอบพิธีกรรมเพียงอย่างเดียว นาฏศิลป์ไทยได้ถูกบรรจุอยู่เป็นวิชาที่การศึกษาขั้นพื้นฐานบรรจุลงในหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเล่าเรียนวัฒนธรรมประจำชาติ อีกทั้งสามารถต่อยอดความรู้ไปจนถึงระดับอุดมศึกษาขั้นสูงสุดได้ ด้านธุรกิจต่างๆก็เช่นกัน ได้มีการนำการแสดงนาฏศิลป์เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศและความน่าสนใจแก่ผู้รับบริการ แต่ปัญหาที่นาฏศิลป์ไทยหลีกไม่พ้นคือความสนใจและใส่ใจของเยาวชนคนไทยทุกๆคนที่จะให้ความสำคัญและความสนใจเพียงเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันที่มีวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลอย่างมากมายในทุกๆสังคม ทุกเพศทุกวัย ดังนั้นความสนใจในเรื่องของนาฏศิลป์ไทยจึงมีเฉพาะกลุ่ม หากแต่นำนาฏศิลป์ไทยมาผนวกกับความบันเทิง อาทิละคร ภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ต่างๆก็จะมีส่วนช่วยให้ผู้ชมเกิดความสนใจมากขึ้น แต่หากยังคงเป็นนาฏศิลป์ไทยมาตรฐานตามแบบแผนเดิมความนิยมย่อมลดน้อยลงอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงไปในหลากหลายปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศจากข้อมูลการสัมภาษณ์ได้มีมุมมองในการเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนางานด้านนาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่สนใจแก่ประชาชนโดยทั่วไป ว่าด้วยนาฏศิลป์ไทยควรเกิดการพัฒนาสร้างสรรค์ขึ้นให้เข้ากับยุคสมัย เพราะการจะให้นาฏศิลป์ดำรงอยู่ได้นั้นย่อมต้องมีผู้ที่ให้การสนใจ นาฏศิลป์ถือเป็นวัฒนธรรมที่มากด้วยคุณค่าด้วยวัฒนธรรมไทย อันถือเป็นกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ในการนำพาประเทศเดินหน้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยมุ่งอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมและพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ช่วยสร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศ ดังนั้นนาฏศิลป์ไทยกับการดำรงอยู่ในประเทศไทย 4.0 นั้น ต้องเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม การเรียนรู้ และการทำงานอันเป็นการสร้างรายได้ และเพิ่มมูลค่าด้วยวัฒนธรรม ดังนั้นนาฏศิลป์ไทยในประเทศไทย 4.0 ต้องดำรงอยู่ด้วยการอนุรักษ์ที่ควบคู่ไปกับการพัฒนา

 

EXISTENCE OF CURRENT THAI DANCE AND THAILAND 4.0

Thai dance is not only dance with an aim for sacrifice or ritual but also is integrated into the basic course in the curriculum for students’ learning about national culture and knowledge extension towards higher education, reaching the highest level of education. Likewise, Thai dance is also used in a business sector as a factor to build good and attractive atmosphere for clients. However, an unavoidable problem facing Thai dance is insufficient attention of Thai dance among Thai youths. In other words, there are only some groups paying attention to Thai dance as current social condition has adopted international cultures which influence all society and people of all ages and genders. Therefore, the attention to Thai dance is limited to some groups of people. But if it is integrated with entertainment including dramas, movies or television programs, Thai dance will gain more attention from the audience. If Thai dance still holds the old and traditional standard, its popularity certainly is decreased as seen in present day. The changings in several factors mostly are associated with national development. Based on the interviews, the ideas were proposed to develop Thai dance that is attractive to Thai general people. Thai dance should be developed creatively to keep up with current situation. To sustain it, interested people are required. Thai dance is Thai valuable culture and as a technological and industrial target towards Thailand 4.0 with an aim of preserving traditional culture and cultural development and extension to keep up with a modern era, generating income and good image at the country level. Therefore, Thai dance and its existence in Thailand 4.0 requires the linkage of social changes, learning, and work, leading to income generation and added cultural value. Therefore, Thai dance in Thailand 4.0 must be sustainable for its conservation and development.

Downloads