การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์กับนโยบายความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน

ผู้แต่ง

  • อนงลักษณ์ สมแพง คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน, กระบวนทัศน์, นโยบายด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน, นโยบายภาครัฐ, การรับรู้ของสาธารณชน

บทคัดย่อ

บทความมุ่งนำเสนอให้เห็นถึงสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการชี้ให้เห็นถึงกระบวนทัศน์ที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน อาทิ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของภาครัฐของประเทศสวีเดนกับนโยบาย Vision Zero หรือการศึกษากระบวนทัศน์ปัจเจกชนเกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ที่มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่า แม้ภาครัฐจะมีนโยบายหรือการรณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนมากเท่าใดก็ตาม แต่หากปราศจากการยอมรับจากกลุ่มพลเมืองหรือผู้ใช้รถใช้ถนนกลุ่มต่าง ๆ วัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนย่อมไม่เกิดขึ้น หรือการศึกษากระบวนทัศน์ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนในระดับสังคมได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกาที่พบว่า ยุค Safety First เป็นการเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมจะเน้นที่การรณรงค์ไปที่การจำกัดปริมาณรถและการรณรงค์ให้คนขับระมัดระวังผู้ใช้ถนน ยุค Control เน้นความปลอดภัยด้านจราจร ละเลยความปลอดภัยของผู้ใช้ทางเท้า ยุค Crashworthiness เน้นไปที่การให้ภาคอุตสาหกรรมเห็นความสำคัญกับอุปกรณ์ป้องกันปลอดภัย (In-car Technologies) และยุคปัจจุบัน Responsibility เน้นไปที่การให้การศึกษาและการบังคับใช้กฎหมายด้วยการสร้างความรับผิดชอบร่วมกันให้กับผู้ใช้รถถนน เป็นต้น

 

How Road Safety Paradigm Shift Can Affect the Road Safety’s Policy

This article emphasizes on the worsening situation on road deaths, road injuries, and also explains how road safety paradigm shift can affect the government’s policy. This shows the evident of the shift between all the paradigms that reflect the changes in popular perceptions. The development of traffic safety policy involves a wide range of participants representing a diverse group of interests. Government played a big role in preceding this policy. For example, Sweden Vision Zero policy, A radical innovation to promote an alternative framework in Sweden with regard to the formulation of road-safety problem, views on responsibility, attitudes to the demands of safety for road users, and the ultimate objective of road safety work, In USA, the four paradigms of traffic safety in the twentieth-century in the United States. First, 1900s-1920s; Safety First; Second, 1920s-1960s: Control; Third, 1960s-1980s; Crashworthiness; and Fourth, 1980s-present; Responsibility. The four paradigms point out how safety models evolved and changed in public perception.

Downloads