อุตสาหกรรมเพลงไทยในยุคประเทศไทย 4.0
คำสำคัญ:
ธุรกิจเพลง, ประเทศไทย 4.0, ค่ายเพลง, ศิลปิน, Thai Love Film, Social Reflectionบทคัดย่อ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมวงการบันเทิงปรับตัวเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “อุตสาหกรรมเพลง” ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งเนื้อหา กลวิธี และรูปแบบการนำเสนอ
“เพลง” คืองานที่เกิดจากความคิดของมนุษย์ จัดเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากในยุคเริ่มต้นที่งานเพลงถูกถ่ายทอดผ่านช่องทางที่ผู้เกิดก่อน พ.ศ. 2530 จะคุ้นเคยเป็นอย่างดีคือ เทปคาสเซตต์และซีดีก่อนเทคโนโลยีจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ตั้งแต่เริ่มมี MP3 (เครื่องเล่นเพลงแบบไฟล์ดิจิทัล) จวบจนปัจจุบันที่มีการฟังเพลงผ่านระบบสตรีมมิง (Streaming) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีที่พัฒนาให้การฟังเพลงง่ายขึ้นในมุมของผู้บริโภค เช่นเดียวกับมุมของฝ่ายผู้ผลิตผลงานเพลงที่ต้องเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน
บทความนี้จึงเป็นการรวมข้อมูลเรื่องอุตสาหกรรมเพลง ทั้งในมุมมองที่เพลงเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์อันเกิดจากความคิดของมนุษย์ เป็นงานที่สร้างสรรค์ได้ตลอดเวลาและก่อให้เกิดรายได้เมื่อถูกเผยแพร่สู่สาธารณชน รวมถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมเพลงเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา รวมถึงประเทศไทยกำลังก้าวไปเป็นประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการในวงการเพลง ทั้งบริษัทผู้ผลิต ผู้ปฏิบัติงาน และพฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงการข้ามอุตสาหกรรมเพลงไปสู่งานอื่นในยุคปัจจุบัน
Music Industry in Thailand 4.0
In the past 20 years, the entertainment industry has been significantly adapted due to the changes in technology, especially the music industry. The music industry has been changed in not only content and strategy, but also in delivery platforms.
Music is a product of human creativity and it can be classified as the creative economy. Before 2530BC, music was delivered through Tape cassettes and CDs but once technology further developed and became a crucial impact to the music industry, the MP3 was introduced. Streaming services have also been another way to listen to music. As a result of how technology developed, it has been more convenient from the consumers point of view. At the same time, the music companies are forced to reform in order to survive in the business due to the changing of technology.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ