The Effectiveness of Rehabilitation of Drug Patients in Social Rehabilitation Centers with Family Participation in The Social Rehabilitation Center, Wiang Nong Long District, Lamphun Province
Keywords:
Drug Patients, Social Rehabilitation Centers, Family ParticipationAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินเพื่อประเมินประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในศูนย์ฟื้นฟูสังคมแบบมีส่วนร่วมของครอบครัวในศูนย์ฟื้นฟูสังคม อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่าง มีผู้ป่วยติดยาเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์ฟื้นฟูสังคม อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน จำนวน 120 ราย 60 ราย และสมาชิกในครอบครัว/ญาติ 60 ราย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามผู้ป่วยยาเสพติด และแบบสอบถามครอบครัว/ญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว พบว่า กิจกรรมการฟื้นฟูของศูนย์ฟื้นฟูสังคมช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยยาเสพติดกับครอบครัวและชุมชนได้ค่อนข้างดี (=3.63) การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในศูนย์ฟื้นฟูสังคม โดยรวมพบว่าครอบครัว/ญาติของผู้ป่วยยาเสพติดมีความสัมพันธ์ในระดับสูง ( =3.76) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฟื้นฟูของศูนย์ฟื้นฟูสังคม พบว่า ทั้งผู้ป่วยยาเสพติดและครอบครัว/ญาติมีความพึงพอใจมาก ( =3.65 และ 3.76) โดยสรุป การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยยาเสพติดกับครอบครัวและชุมชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ครอบครัวมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากกิจกรรม โดยผู้ป่วยตระหนักและเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหา
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). แนวทางการดำเนินการจัดตั้งและขับเคลื่อนศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมในจังหวัดและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมอื่น ของกระทรวงมหาดไทย ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดและอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
ชฎากาญจน์ ชาลีรัตน์ และยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 2(1): 49-68.
ชวันรัตน์ เสถียรกิตติ์ธนา. (2558). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิตแบบบูรณาการโดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อพลังต้านการเสพ ยาบ้าของผู้เสพยาบ้าที่ได้รับการบาบัดในระยะฟื้นฟูสภาพ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล มีนา. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการพัฒนาทักษะชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในเด็กและเยาวชนที่ได้รับการติดตามโดยสถานพินิจและคุม้ครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วลีรัตน์ แสงไชย. (2561). กระบวนการบำบัดผู้เสพยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภฏัสวนสุนันทา, 15(2): 164-172.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). นโยบายยาเสพติด: วาระแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). รูปแบบการดำเนินการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยและพัฒนาวิชาการ สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). สถานการณ์ยาเสพติดประกอบการจัดทำแผนปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://ncmc.moph.go.th/home/index. php/index/newslist/29/0
สุมาลี มาดา และดุจดาว ธนากรพงศ์. (2559). ประสิทธิผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว. รายงานการวิจัย สำนักงานกิจการยุติธรรม สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. 3rded. New York: Harper & Row.