ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้, สถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง (2) ศึกษาการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรประกอบด้วย ครูของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง จำนวน 318 คน กลุ่มตัวอย่างใด้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ประกอบด้วยครูของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง ในภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก (2) การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วงในภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ (3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในกลุ่มโรงเรียนแพรวาคำม่วง ในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
References
กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร). กรุงเทพมหานคร.
กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
ทิตาภร ยิ้มสงวน. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการนิเทศภายในของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง). ราชบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิรดา สมคำ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง). ราชบุรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (2562). แผนปฏิบัติราชการ. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุชาติ สืบทอง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์).
Garvin, D. A. (1993). Building a learning organization. Harvard Business Review, 71(4), 78.
Glickman, C. D. (2004). Supervision and instructional leadership: A developmental approach. Boston: Allyn & Bacon.
Hallinger, J. S., & Murphy, S. L. (1987). Work stress and social support. Reading, MA: Addison-Wesley Publishing Company.
Heck, R. H. (2011). Conceptualizing and conducting meaningful research studies in education. In R. J. Tierney (Ed.), The SAGE handbook for research in education (pp. 365-387). Sage.
Blase, J., & Blase, J. (2004). Handbook of instructional leadership: How successful principals promote teaching and learning. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Krug, E. G., Dahlberg, L. L., Mercy, J. A., Zwi, A. B., & Lozano, R. (2002). The world report on violence and health. The Lancet, 360(9339), 1083-1088.
Marquardt, M. J. (2002). Building the learning organization: A systems approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill.
Pedler, M., Burgoyne, J. G., & Boydell, T. (1991). The learning organization: A strategy for sustainable development. New York: McGraw-Hill.
Senge, P. M. (2006). The fifth discipline: The art and practice of the learning organization. New York: Doubleday.
Seyfarth, J. T. (2003). The principal: New leadership for new challenges. New Jersey: Prentice Hall.
Ubben, G. C., Hughes, L. W., & Norris, C. J. (2001). The principal: Creative leadership for effective schools. Needham Heights, MA: Allyn & Bacon.
Wildy, H., & Dimmock, C. (1993). Instructional leadership in primary and secondary schools in Western Australia. Journal of Educational Administration, 31(2), 43. Retrieved January 18, 2011, from ABI/INFORM Global. (Document ID: 1064832).