การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย)
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน; ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ; ศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) 3) เพื่อทดลองรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน 2) ครูผู้สอน จำนวน 17 คน โดยได้มาด้วย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sample) ตัวแปรที่ใช้ในกาวิจัย 1) ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) ตัวแปรตาม คือ 1) ศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนที่ได้รับการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
- ผลการศึกษาความต้องการรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริม
ศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย)ได้ประเด็นความต้องการหลัก 7 ด้าน ประเด็นย่อย 21 ประเด็น
- ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย)ได้รูปแบบการนิเทศที่ประกอบด้วย ประเด็นหลัก 7 ด้าน และประเด็นย่อย 23 ประเด็น
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) พบว่า ผู้วิจัยร่วมกับโรงเรียนสามารถดำเนินตามกระบวนการในคู่มือรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย) คือ ครูผู้สอนมีการประเมินตนเองเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนทุกคน
- ผลปรากฏว่าครูมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.67) และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.42) แสดงว่ามีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ระดับมากที่สุด
- ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพ ในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย)พบว่า ทั้งผู้บริหารและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย)ว่ามีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้มีประโยชน์และมีความถูกต้องในระดับมาก
References
นันทนา เต่าทอง. (2542). การศึกษาการดําเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2553, จากฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์http://tdc.thailis.or.th
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
สมศักดิ์ วงศ์จำปา. (2542). พฤติกรรมการนิเทศในการปฏิบัติงานนิเทศการศึกษาของนิเทศ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอและระดับคุณภาพของครู สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดในเขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2532). รายงานการประเมินผลระบบนิเทศการศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : พี เอ ลิฟวิง.
อรุณรุ่ง โยธสิงห์ และสำราญ กำจัดภัย. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการประเมินที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2559).