การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรและจิตวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรและจิตวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ต่อฉัตร สนพราย
  • พรชัย หนูแก้ว
  • กรัณย์พล วิวรรธมงคล

คำสำคัญ:

นวัตกร, จิตวิทยาศาสตร์, โครงงานเป็นฐาน, การโค้ช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช เพื่อศึกษาความเป็นนวัตกร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช เพื่อศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดเขาสะพายแร้ง ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความเป็นนวัตกร และแบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรและจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มี 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 เร้าความสนใจ ขั้นที่ 2 รวบรวมประสบการณ์ ขั้นที่ 3 สร้างสรรค์โครงงาน ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ประเมินค่า ขั้นที่ 5 เผยแพร่ความรู้ โดยของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ชพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช มีประสิทธิภาพ 85.18/80.00 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช มีความเป็นนวัตกรอยู่ในระดับ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 81.01 และนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ช มีความเป็นจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ มาก คิดเป็นร้อยละ 77.28

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์เปอเรชั่น.

นภาภรณ์ เพียงดวงใจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานร่วมกับเทคนิคการสืบเสาะหาความรู้ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ พเยาว์ ยินดีสุขและ ราเชน มีศรี. (2556). การสอนคิดด้วยโครงงานการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทักษะในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พีชญาณ์ พานะกิจ. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุจิราพร รามศิริ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิจัยเป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการวิจัย ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรนิสา หนูช่วย (2561). รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิต.

Hargis, J. (2005). Collaboration, Community and Project-Base Learning—Does it Still Work Online? International of instructional media, 32(2), 157.

Michalko, M. (2001). Cracking creativity: The srcrets of creative genius. Berkeley Califonia: Ten speed Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-08-2023

How to Cite

สนพราย ต. ., หนูแก้ว พ., & วิวรรธมงคล ก. . (2023). การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรและจิตวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: การเสริมสร้างความเป็นนวัตกรและจิตวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการโค้ชสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 4(2), 23–36. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jhsmbuisc/article/view/264973