การเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค KWL Plus กับเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
Reading Comprehension Skills, Cooperative Learning, KWL Plus Technique, STAD Technique, Local information of Saiyok District, Kanchanaburi Provinceบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้ 2)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ 3)เพื่อศึกษาความคงทนของการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค KWL Plus กับเทคนิค STAD ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค KWL Plus แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความเรื่อง การอ่านจับใจความ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1)ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้ สรุปได้ดังนี้ 1.1) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างหลังเรียนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค KWL Plus กับหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มีทักษะการอ่านจับใจความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)ผลการศึกษาคงทนของการเรียนรู้ทักษะการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการอ่านจับใจความไม่แตกต่างกัน ทั้งการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค KWL Plus และการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
References
กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชาตรี เกิดธรรม. (2545). เทคนิคการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2552). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์ : แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พลอยไพรินทร์ สโมทัย. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบเน้นภาระงาน เรื่องข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการนิเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รินทร์ลภัส เฉลิมธรรมวงษ์. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรัญญา บุรินทร์รัตน์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWL plus. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2549). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมือาชีพ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศริญดา เทียมหมอก. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้สาระท้องถิ่นร่วมกับแผนที่ความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุจริต เพียรชอบและสายใจ อินทรัมพรรย์. (2542). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ภาควิชามัธยมศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสาวภา ช่วยแก้ว. (2557). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิค KWL PLUS. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.