ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านสถาบันการศึกษากับการตัดสินใจเลือกศึกษาของนักศึกษาต่างชาติ ต่อ ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่ นักศึกษาต่างชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจำนวน 25 คน คัดเลือกโดยใช้สูตร เครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ซึ่งใช้แบบสอบถามในรูปแบบ Google Form เพื่อทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ และนำข้อมูลที่ได้มาประเมินและวิเคราะห์โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาต่างชาติในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (x̄ = 4.20) ในด้านระดับปัจจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปัจจัยด้านความมีชื่อเสียงและอันดับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (x̄ = 4.49) ในด้านหลักสูตร มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม (x̄ = 4.53) ด้านค่าใช้จ่ายในการศึกษา มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (x̄ = 4.36) และด้านการจัดการเรียนการสอนมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม (x̄ = 4.68) ส่วนด้านปัจจัยองค์ประกอบของจังหวัดขอนแก่น ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม (x̄ = 4.73) ด้านกายภาพมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม (x̄ = 4.55) ด้านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อการตลาดมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดีเยี่ยม (x̄ = 4.56) และด้านการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อบุคคลมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับ ดี (x̄ = 4.13)
References
กุลนรี นุกิจรังสรรค์ และคณะ. (2564). การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยนักศึกษาจีนในไทย. รายงานการวิจัย. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2563) แผนยุทธศาสตร์การบริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2563 -2566. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (2564). หลักสูตรที่เปิดรับนักศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตรและพัฒนา. กรุงเทพฯ: ธนรัช.
ตรีนุช ไพชยนต์วิจิตร และอัครนัย ขวัญอยู่. (2564). ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อหลักสูตรนานาชาติในระดับอุดมศึกษาของไทย. วารสารธรรมศาสตร์, 40(3) (กันยายน-ธันวาคม), 114-139.
พรพรรณ ยาใจ. (2550). ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักศึกษาต่างชาติในการ เข้ามาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนในประเทศไทยกรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[วิทยานิพนธ์] คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วัชรีญา บุญมา. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทยของนักศึกษาชาวจีน [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต]. คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกริก.
วันมงคล ยิ้มย่อง. (2563). ปัจจัยในการเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาไทยและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักศึกษาชาวต่างชาติในประเทศไทย กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษากลุ่มประเทศอาเซียนและนักศึกษาชาวจีน [วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต]. คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2555. กรุงเทพมหานคร:สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ.
อมราพร ปวะบุตร ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ และจิระทัศน์ ชิดทรงสวัสดิ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อสังคม และภาพลักษณ์ขององค์การของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 26(2), 104.
Lingyun Yang. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักศึกษาจีนในการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ [การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.