การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ สารรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • พรชัย หนูแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
  • กรัณย์พล วิวรรธมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, สะตีมศึกษา, บริบทท้องถิ่นและชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนท่ามะกาปุญสิริวิทยา จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.80-1.00 แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.06-1.00 และแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.80-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน มีประสิทธิภาพ 73.94/71.88 2) ผลการศึกษาความสามารถในการแก้คิดปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน ในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 80.5 3) ผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน เรื่อง งานและพลังงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 4 หลังจากการจัดการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1) หน้า 7-20.

ณัฐพงษ์ เทศทอง. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้สาระวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1. สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนวรรธณ์ ศรีวิบูลย์รัตน์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง งานและพลังงาน รายวิชาฟิสิกส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปัญกาญจน์ ทรัพย์เจริญ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบทเรียนอีเลิร์นนิงวิชาเทคโนโลยี 1 (วิทยาการคํานวณ) เรื่อง การพัฒนาโครงงาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ภาควิชาครุศาสตร์อุุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พงศกร ลอยล่อง. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนา การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณี แก้วจันทร์. (2558). ผลของการใช้กระบวนการสืบเสาะโดยใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์. สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์จังหวัดปทุมธานี.

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2560). STEAM ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 45(1), 320-334. ค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDUCU/article/view/106154.

สมนึก ภัททิยธนี. (2555). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพ. : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร : ชมนุมสหกรณ์

อภิญญา สิงห์โต. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิด STEAM เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Giuliano, F. J. (1998). The relationships among cognitive variables and studentsproblem-solving strategies in an interactive chemistry classroom. Proquest-Dissertation Abstracts. 59, 125-A.

HyunJu Park, Soo-yong Byun, Jaeho Sim, Hyesook Han and Yoon Su Baek. (2016). Teachers’ Perceptions and Practices of STEAM Education in South Korea. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education. 12(7), 1739-1753.

Jeong & Kim. (2015). The Effect of a Climate Change Monitoring Program on Students’ Knowledge and Perceptions of STEAM Education in Korea. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education. 11(6).1321-1338.

Prayekti, P. (2016). Effects of Problem-Based Learning Model Versus Expository Model and Motivation to Achieve for Student's Physic Learning Result of Senior High School at Class Xi. Journal of Education and Practice, 7(1), 30-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2024

How to Cite

สารรัตน์ ว., หนูแก้ว พ., & วิวรรธมงคล ก. (2024). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาฟิสิกส์ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับบริบทท้องถิ่นและชุมชน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร วิทยาเขตอีสาน, 5(1), 232–243. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jhsmbuisc/article/view/271167