Aims and Scope

วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์ ISSN: 3027-7388 (Online) เป็นวารสารวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วารสารนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปรัชญา  คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ หรือปรัชญาประยุกต์กับสาขาวิชาอื่น เช่น ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาศาสนา ปรัชญาสังคมและการเมือง เป็นต้น บทความทั้งหมดจะต้องเกี่ยวข้องกับปรัชญาบริสุทธิ์ ปรัชญาประยุกต์ และการวิจัยทางปรัชญา ผู้เขียนที่ส่งผลงานจะต้องจำแนกต้นฉบับของตนโดยเลือกขอบเขตจากปรัชญาทั้งสองกลุ่มนี้ ดังต่อไปนี้:

 กลุ่มที่ 1 ปรัชญาบริสุทธิ์ ได้แก่ การวิเคราะห์ทางอภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์

           1.1 อภิปรัชญา หมายถึง การวิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาตะวันออกและตะวันตกที่เกี่ยวกับความจริงสูงสุด ความมีอยู่ ปรากฏการณ์ต่างๆ

           1.2 ญาณวิทยา หมายถึง การวิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาตะวันออกและตะวันตกที่เกี่ยวกับความรู้ การตรวจสอบความรู้

            1.3 จริยศาสตร์ หมายถึง การวิเคราะห์แนวคิดทางปรัชญาตะวันออกและตะวันตกที่เกี่ยวกับความดี ความชั่ว ปัญหาทางจริยศาสตร์ เช่น ปัญหาอุ้มบุญ ปัญหาการุณยฆาต ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาประพฤติกรรมมนุษย์ เป็นต้น

           กลุ่มที่ 2 ปรัชญาประยุกต์ หมายถึง การประยุกต์หลักปรัชญาและศาสนา เพื่อตีความและนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ปรากฎในสังคม ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

           2.1 ปรัชญาการศึกษา หมายถึง การวิเคราะห์หลักการ วิธีการศึกษาด้วยทฤษฎีทางปรัชญา เช่น การพัฒนาการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามหลักปฏิบัตินิยม การเรียนรู้ตามหลักปัญญานิยมในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นต้น

           2.2 ปรัชญาศาสนา หมายถึง การวิเคราะห์และตีความปัญหาทางศาสนาด้วยทฤษฎีทางปรัชญา เช่น การพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า การแก้ไขปัญหาการอุ้มบุญด้วยหลักปรัชญาศาสนา

           2.3  ปรัชญาสังคมและการเมือง หมายถึง การวิเคราะห์และตีความปัญหาสังคมและการเมืองด้วยทฤษฎีทางปรัชญา เช่น ปัญหาคนยากจน ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาเด็กและเยาวชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ประเภทของบทความ

วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์ ตีพิมพ์ทั้งบทความวิจัยและบทความวิชาการ

           บทความวิจัย

           บทความวิจัย คือ บทความที่นำเสนองานวิจัยที่แสดงถึงแนวคิดและการวิเคราะห์ทางปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับ

เกี่ยวข้องกับปรัชญา  คือ อภิปรัชญา ญาณวิทยา จริยศาสตร์ หรือปรัชญาประยุกต์กับสาขาวิชาอื่น เช่น ปรัชญาการศึกษา ปรัชญาศาสนา ปรัชญาสังคมและการเมือง เป็นต้น บทความทั้งหมดจะต้องเกี่ยวข้องกับปรัชญาบริสุทธิ์ ปรัชญาประยุกต์ และการวิจัยทางปรัชญา บทความวิจัยต้องระบุเนื้อหาที่ชัดเจน กระชับ มีความคิดริเริ่ม มีโครงสร้างที่ดี และรวมถึงการอภิปรายผลการวิจัยด้วย จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิจัยจะต้องไม่เกิน 8,000 คำ

           บทความวิชาการ

           บทความวิชาการ คือ บทความนำเสนอแนวคิดและบทวิเคราะห์เนื้อหาที่มีลักษณะการตีความผ่านทฤษฎีทางปรัชญาที่อ้างอิงถึงหลักการที่ถูกนำเสนอจากนักวิชาการที่น่าเชื่อถือและถูกต้องตามหลักวิชาการ จำนวนคำเฉลี่ยในบทความวิชาการจะต้องไม่เกิน 8,000 คำ

กำหนดการเผยแพร่วารสาร (Publication Frequency)

 

กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ เป็นราย 6 เดือน

 

ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน

 

ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม

 

ภาษาที่รับตีพิมพ์

วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์เผยแพร่บทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทความที่เป็นภาษาไทยจะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ (โปรดศึกษารายละเอียดในคำแนะนำสำหรับผู้เขียน) บทความที่ส่งเข้ามาในวารสาร จะต้องมีตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของภาษานั้นๆ

 

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ 3,500 บาท

 

เจ้าของและการจัดการ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นเจ้าของวารสารในการกำกับดูแลของวารสารให้ได้มาตรฐาน เพื่อการตีพิมพ์บทความผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้มงวด

 

สำนักพิมพ์

วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์เป็นวารสารอย่างเป็นทางการของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

 

กระบวนการพิจารณาบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process)

วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์มีกระบวนการประเมินคุณภาพบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์ บทความที่จะได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 หรือ 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ส่วนการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความจะไม่ทราบชื่อ หรือข้อมูลของผู้เขียนบทความ และผู้เขียนบทความก็ไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นกัน ในลักษณะปกปิดรายชื่อ (Double blind peer-reviewed) วารสารยังมีเงื่อนไขในการพิจารณาและคัดเลือกบทความตามมาตรฐานทางวิชาการ