Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • บทความที่จะทำการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ใด มีความน่าสนใจและมีความทันสมัย
  • บทความใช้ขนาดกระดาษ A4 แบบหน้าเดียว ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาดอักษร 16 point ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยได้ปฏิบัติตามคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความเรียบร้อยแล้ว
  • บทความมีองค์ประกอบคือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งทุกคน และระบุสถานที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน มีบทคัดย่อ คำสำคัญ (keywords) ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

 

วารสารจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป

  1. นโยบายการตีพิมพ์ในวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์

วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์ เป็นวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่บทความวิจัยและวิชาการสาขาเกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการวิจัยและวิชาการสาขาเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางการวิจัยและวิชาการสาขาเกี่ยวกับปรัชญาและศาสนา สหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์

วารสารจะพิจารณาบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

ในส่วนของข้อเขียนที่ปรากำในวาสาร จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์ รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20% โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม 2564 เป็นตันไป

 

  1. 2. หลักเกณฑ์การนำบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์

วารสารวิชาการสถาบันวิทยากรสนใจและคัดเลือกบทความที่มีลักษณะเป็นบทความวิจัยและวิชาการเกี่ยกับปรัชญาศาสนา และปรัชญา รวมถึงสหวิทยากรด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีลักษณะดังนี้ 1) มีการนำเสนอแนวคิดหรือประเด็นอันเป็นที่น่าสนใจในสังคม 2) มีการนำเสนอข้อคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งทางทฤษฎีทางด้านปรัชญาและศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) มีการเสนอแนวทางการบูรณาการความรู้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือทางด้านวิชาการ

กองบรรณาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาบทความ โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

1) บทความวิชาการมีการใช้ภาษาและการเขียนที่มีโครงสร้างของบทความที่มีความถูกต้องตามหลักการเขียนบทความวิชาการ

 2) บทความวิจัยมีความเหมาะสมของระเบียบวิธีวิจัย มีการอ้างอิงและสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่

3) บทความมีเนื้อหาสอดคล้องกับประเด็นทางสังคมและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

บทความที่ส่งมาจะต้องมีลักษณะเป็นความเรียง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทความอย่างชัดเจน และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน

ทั้งบทความวิชาการและบทความวิจัยจะต้องมีส่วนประกอบดังนี้

1) ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2) สำหรับบทความวิจัย มีบทคัดย่อภาษาไทยที่มีความยาวไม่เกิน 350 คำ และบทความวิชาการมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษมีความถูกต้องตามหลักโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐานวิชาชีพ

3) ชื่อผู้เขียนทุกคน พร้อมภาษาอังกฤษกำกับ และหน่วยงานที่สังกัดของผู้เขียนทุกคน ระบุ email ของผู้เขียนหลัก

4) คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 – 5 คำ)

5) เนื้อหาของบทความ ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

 

บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

          1) บทคัดย่อ (Abstract) ประกอบด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับบทความวิจัยมีความยาวไม่เกิน 350 คำและบทความวิชาการมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษมีความถูกต้องตามหลักโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐานวิชาชีพ

          2) คำสำคัญ (Keywords) ประกอบด้วยคำ 3-5 คำ มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3) บทนำ (Introduction) มีความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา นำเสนอประเด็นปัญหา และแนวคิดที่เกี่ยวข้อง พร้อมเสนอหลักการและยืนยันสิ่งที่ต้องการนำเสนอในบทความ

          3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับประกอบด้วยทฤษฎีหรือแนวคิด  ก่อนจะวิเคราะห์พร้อมยกกรณีตัวอย่างประกอบการวิเคราะห์ นำไปสู่ข้อเสนอใหม่ของเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการยืนยัน

          4) สรุป (Conclusion)             

          5) เอกสารอ้างอิง (Reference)

 

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (Abstract) เสนอวัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีการวิจัยและผลการวิจัยโดยสรุป ให้เนื้อหามีความกะทัดรัด และไม่ยืดยาวจนเกินไป

2) คำสำคัญ (Keywords) ประกอบด้วยคำ 3-5 คำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

3) บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัยพร้อมนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิด และระบุวัตถุประสงค์การวิจัย

4) ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นการเขียนให้เห็นแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

           5) ผลการวิจัย/ผลการทดลอง (Result) เป็นการเสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

           6) อภิปรายผล/วิจารณ์ (Discussion) มีการเชื่อมโยงผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

           7) องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย ระบุองค์ความรู้ที่ได้อันเป็นผลมาจากการวิจัย ผ่านการสังเคราะห์ ออกมาในรูปแบบของ แผนภูมิ แผนภาพ หรือ ผังมโนทัศน์ พร้อมทั้งการอธิบายที่เข้าใจได้ง่าย

8) สรุป (Conclusion) เขียนสรุปให้ตรงกับเนื้อหาสำคัญและองค์ความรู้ใหม่

9) ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

10) เอกสารอ้างอิง (Reference) ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถเท่านั้น

 

  1. รูปแบบของการจัดเตรียมต้นฉบับ

1) ต้นฉบับบทความต้องมีความยาว 12-15 หน้ากระดาษ A 4 (รวมเอกสารอ้างอิง) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษรแบบ THSarabunPSK เท่านั้น ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบข้างบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูปให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

2) ชื่อเรื่องต้องมีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ภาษาไทย ขนาด 20 point, กำหนดกลางกระดาษ, ตัวหนาภาษาอังกฤษ ขนาด 18 point, กำหนดกลางกระดาษ, ตัวหนา

3) ชื่อผู้เขียน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอีเมล์ติดต่อ ด้วยอักษรภาษาไทย ตัวหนา– ภาษาอังกฤษ ขนาด 16 point, กำหนดชิดขวา, ที่อยู่ผู้เขียน ขนาด 16 point, กำหนดชิดซ้าย

4) สำหรับบทความวิจัย มีบทคัดย่อภาษาไทย ไม่เกิน 350 คำต่อบทคัดย่อ และภาษาอังกฤษให้ใช้ในการแปลตามภาษาไทย หากเป็นบทความภาษาอังกฤษ ให้ใช้ภาษาอังกฤษในบทคัดย่อไม่เกิน 350 สำหรับบทความวิชาการ บทคัดย่อไม่เกิน 300 คำ

5) กำหนดคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

6) การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย ขนาด 18-point หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 3-5 ตัวอักษร พิมพ์ตัวที่ 6 และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์ เพิ่มอีก 0.5 ช่วงบรรทัด

7) การใช้ตัวเลขในบทความควรใช้ตัวเลขอารบิกทั้งหมด

  

  1. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการ

         การอ้างอิง ให้ใช้รูปแบบ American Psychological Association (APA) (6th Edition) เป็นมาตรฐาน โดยสามารถตัวอย่างวิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ APA https://www.apastyle.org เป็นการอ้างอิงโดยใช้ระบบนามปี โดยให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็ก เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ใต้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฎในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด

          ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง ประกอบด้วย

          4.1 การอ้างอิงในเนื้อหา ให้ใช้การอ้างอิงระบบนามปี โดยกำหนดดังนี้

4.1.1 หากชื่อผู้แต่งอยู่หน้าข้อความที่อ้างถึง ให้ใช้ ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์) เช่น (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), 2560)

หากเป็นพระไตรปิฎก ให้เขียนหน้าข้อความว่าอยู่ในคัมภีร์ใด เล่ม ข้อ หน้าอะไร เช่น ในพระสูตรเล่มที่ 12 ข้อ 15 หน้า 5 และอ้างข้างหลังข้อความตามชื่อว่าเป็นของหน่วยงานใด เช่น (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539) หรืออ้างในวงเล็บว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่ม ข้อ หน้า ตามด้วยชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์) เช่น พระไตรปิฎกภาษาไทยเล่ม 12 ข้อ 15 หน้า 5, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539)

4.1.2 หากชื่อผู้แต่งอยู่ท้ายข้อความที่อ้างถึง ให้ใช้ (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์)

การอ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

1) ตัวอย่าง ผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยเลข พ.ศ. ที่ตีพิมพ์ และคั่นด้วยเครื่องหมายทวิภาค (:) เลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (ปาริชาด สุวรรณบุบผา,2545)

2) ผู้แต่งสองรายให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองรายเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิงเช่น (กรุณา กุศลาสัยและเรืองอุไร กุศลาสัย, 2545) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (ปรีชา ช้างขวัญยืน, 2555; สมภาร พรมทา,2558)

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างชื่อของผู้แต่งรายแรกเว้นวรรคหนึ่งครั้งเพิ่มคำว่าและคณะเครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระพรหมบัณฑิตและคณะ, 2561)

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งเช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (John Hick, 1991)

2) ถ้ามีผู้แต่งสองรายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Hume&Locke,2007) และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (John Hick, 1991; Hume&Locke,2007)

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 รายให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al, ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง (Keown et al., 2004)

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

 

          4.2 การอ้างอิงท้ายบทความ ให้ใช้รูปแบบ APA ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้         

          1) หนังสือ

          ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. (ครั้งที่พิมพ์). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

          เช่น

ปาริชาด สุวรรณบุบผา. (2552). สานเสวนา: สานใจสู่ใจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

          2) บทความในวารสาร

          ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก - หน้าสุดท้าย ของบทความ.

          เช่น

พระมหาทวี มหาปญฺโญ. (2561) การใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์ตามหลักพุทธวิธี. วารสาร ศึกษาศาสตร์มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 6 (2), 346-356.

          3) แหล่งข้อมูลจาก รายงานการวิจัย/ดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์ (ระดับวิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัย

เช่น

กัลยรัตน์ คำคูนเมือง. (2561). พุทธวิธีการใช้หลักสัมมาวาจาในการสร้างคุณธรรมเพื่อธุรกิจขายตรง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ธรรมนิเทศ). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

4) แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์

ชื่อผู้เขียน. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่องหรือบทความ. สืบค้นเมื่อ วัน เดือน ปี, จาก Url ของแหล่งข้อมูล.

          เช่น

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2555). การจัดการศาสนาและวัฒนธรรมในองค์กร. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2557, จาก www.mcu.ac.th/article/index.html.

 

          ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง (References)

กรรณิการ์  อัศวดรเดชา(2550). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จินตวีร์  เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

 

  1. 5. การเตรียมต้นฉบับ

ต้นฉบับต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หน้า ความยาวไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ ขนาด A4 พร้อมบันทึกไฟล์บทความที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word (*.doc หรือ *.docx) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษร THSarabun PSK ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูป ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) ต้องประกอบด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และจำนวนหน้าของหนังสือ โดยผู้ปริทัศน์สามารถเขียนด้วยความยาวไม่เกิน 15 หน้า พร้อมบันทึกไฟล์บทความที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word (*.doc หรือ *.docx)

          ผู้ส่งบทความสามารถส่งได้ในระบบ (Online Submission) โดยสามารถสมัครและส่งเข้าระบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmpr/index ทางบรรณาธิการจะพิจารณาเพื่อแก้ไขบทความในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เขียนแก้ไข แต่หากไม่มีการแก้ไข จะส่งเพื่อ peer reviews เพื่อประเมินและส่งให้แก้ไข เมื่อประเมินผ่านและมีการแก้ไขจะต้องส่งเข้าระบบเพื่อตีพิมพ์ต่อไป