ปรัชญาการศึกษากับรูปแบบการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยในสังคมไทย

Main Article Content

พระวิทยา ญาณเวที

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการศึกษา และเพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในสังคมไทย โดยใช้การศึกษาจากเอกสาร หนังสือและบทความที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทางปรัชญามี 6 กลุ่มคือ 1. ปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม 2. ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม 3. ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม 4. ปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม 5. ปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม 6. พุทธปรัชญา และจากการมหาวิทยาลัยในสังคมไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเชื่อว่ามหาวิทยาลัยคือที่แสวงหาความจริงตามรูปแบบของกลุ่มพิพัฒนาการนิยมและอัตถิภาวนิยม เป็นชุมชนของผู้อยากเรียนรู้ กลุ่มที่สองมหาวิทยาลัยต้องสนองความต้องการของสังคมเป็นกลุ่มสารัตถะนิยมและปฏิรูปนิยม และกลุ่มที่สาม เป็นแหล่งอบรมคนให้สมบูรณ์ ตามลักษณะของคุณธรรมหรือความจริงสูงสุดตามหลักนิรันตรนิยมและกลุ่มพุทธปรัชญา และมหาวิทยาลัยกับสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน มหาวิทยาลัยไทยนั้นไม่ใช่กลุ่มแรกและกลุ่มที่สามแต่เป็นกลุ่มที่สอง คือตั้งขึ้นเพื่อความต้องการของรัฐเพื่อสนองนโยบายของรัฐ มหาวิทยาลัยในแง่หนึ่งต้องการสร้างแนวคิดแบบประชาธิปไตย แต่ขณะที่ความเป็นจริงทั้งเนื้อหาและการสอนเน้นไปที่การบอก การท่องจำ และการให้คะแนนโดยดูว่าจดจำได้มากแค่ไหน ไม่ได้เน้นการโต้แย้ง ทำให้อาจารย์มีฐานะไม่ต่างจากศาสดาทำให้นักศึกษาเป็นผู้ตามที่ดี

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ บุญเจือ. (2526). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 15, กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2553). พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์ (ภาษาศาสตร์ประยุกต์). กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน.

สุริยา รัตนกุล. (2555). อรรถศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหิดล.

โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์. (2552). ปรัชญาภาษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Austin, John L. (1962). How to Do Things with Words. Oxford: Oxford University Press.