ความไม่เสมอภาคทางเพศ: การศึกษาวิเคราะห์ในมุมมองจริยศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งศึกษาประเด็นปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคทางเพศที่มีการถกเถียงกันในพระพุทธศาสนา ในเรื่องนี้มีทัศนะของกลุ่มที่มีความคิดเห็นว่า ท่าทีของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสถานภาพของผู้หญิงจากกรณีที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้มีการอุปสมบทภิกษุณีตั้งแต่แรกนั้น มีลักษณะของความไม่เสมอภาคทางเพศ ส่วนอีกกลุ่มมีความคิดเห็นว่า พระพุทธศาสนามีท่าทียกย่องและให้เกียรติผู้หญิง บทความนี้ต้องการพิสูจน์ว่า การถกเถียงกันดังกล่าวนั้น ไม่ได้พิจารณาผ่านมุมมองจริยศาสตร์ทางศาสนา เป็นเพียงการถกเถียงกันบนฐานของจริยศาสตร์ทางสังคมเท่านั้น สิ่งที่ผู้เขียนประสงค์จะพิสูจน์ ก็คือ การถกเถียงในประเด็นเรื่องความไม่เสมอภาคทางเพศกับกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต/ไม่ทรงอนุญาตให้มีการอุปสมบทภิกษุณีนั้น ควรพิจารณาจากเหตุผลในบริบทของจริยศาสตร์ทางศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นการมองมนุษย์จากสภาวะที่แท้จริง (ขันธ์ 5) ไม่ได้มองจากความเป็นเพศภาวะ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2555). เล่าเรื่องเบื้องต้น สตรีศึกษา สตรีนิยม. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2557). สตรีในคัมภีร์ตะวันออก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจ นาคชาตรี. (2550). พุทธปรัชญาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมภาร พรมทา. (2542). พุทธปรัชญา มนุษย์ สังคมและปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพมหานคร : โครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภาร พรมทา. (2559). พุทธปรัชญาในอภิธรรมปิฎก. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการของศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรมทา.
พระมหาพรชัย สิริวโร. (2556). "กระบวนการสร้างความสุขให้กับชีวิต", สาวิกา, ฉบับที่ 92 (กรกฎาคม-กันยายน 2556): 6.