“พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์”
Main Article Content
Abstract
หนังสือเรื่อง “พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์” เขียนโดยพระพรหม คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พิมพ์เมื่อปี 2550 หนังสือเล่มนี้ได้นำเสนอแนวคิดทางด้านพุทธศาสนา ที่เน้น การนำความรู้ความจริงหรือความรู้ในกฏธรรมชาติ มาแก้ปัญหาและพัฒนามนุษย์ให้ถึง ความไร้ทุกข์กับแนวทางของวิทยาศาสตร์ที่แม้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการวิธีที่คล้ายคลึงกันแต่ อาจมีเป้าหมายที่ต่างกันออก แต่อย่างใดก็ตามในฐานะที่วิทยาศาสตร์เป็นแนวคิดหลักของยุค สมัยจึงควรนำแนวคิดด้านอื่นๆ มาช่วยแก้ปัญหาเพื่อหามุมมองอื่นๆ มาช่วยเสนอแนะไว้เป็น แนวทางในการแก้ไขปัญหา ผู้เขียนหนังสือเรื่องนี้คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งท่านถือว่ามีผลงานมากมาย หลายรูปแบบหลายร้อยชิ้นงาน เป็นผลงานที่ทรงคุณค่า ทางวิชาการทั้งสิ้น ผลงานการเผยแผ่ พระพุทธศาสนาของท่านปรากฏ ในหลายลักษณะ มีทั้งด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากนี้ท่านได้รับ อาราธนาให้ไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายครั้ง หลายแห่ง เช่นในปีพ.ศ. 2515 ได้รับอาราธนาให้ไปสอนที่ University Museum,University Of Pensylvania, พ .ศ.2519 ได้รับอาราธนาให้ไปสอนที่ Swarthmore College, Pensylvania และ พ.ศ.2524 ได้รับอาราธนาให้ไปสอนที่ Harvard University ผลงานนิพนธ์ของพระพรหมคุณาภรณ์เป็นที่รู้จักกันอย่างทั่วไปอย่างแพร่หลาย ในแวดวง วิชาการ ในลักษณะที่เป็นตำราวิชาการ เอกสารทางวิชาการ และหนังสืออธิบายธรรมะทั่วๆไป มีมากมายกว่า 300 เรื่อง ผลงานทางวิชาการของท่านที่แพร่หลายมากที่สุดและรู้จักเป็นที่ ยอมรับในทางวิชาการมากที่สุด คือพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ธรรมนูญชีวิต การศึกษาของคณะสงฆ์ปรัชญา การศึกษา พุทธศาสนาในเอเชีย การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น ผลงานวิชาการเล่มใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของท่านคือ พุทธธรรม ถูกพิมพ์เผยแพร่ มาแล้วหลายครั้ง หนังสือพุทธธรรมนี้วงวิชาการทางพุทธศาสนาต่างเห็นพ้องต้องกันให้เป็นสุด ยอดงาน ชิ้นเอกที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่ของท่าน ในวิชาการทางพระพุทธศาสนาจึงมีความเห็น สอดคล้องกันว่าพุทธธรรม คือ หนังสือ ภาษาไทยที่บรรจุสาระสำคัญแห่งหลักคำสอนของ พระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดในยุคปัจจุบัน และอีกงานที่สำคัญ คือได้รับนิมนต์เป็นท่ีปรึกษา ของมหาวิทยาลัยมหิดลในการสร้างพระไตรปิกฎฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็นฉบับแรก ของโลก ทำให้การศึกษาค้นคว้าหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ หนังสือเล่มนี้จึงได้ให้มุมมองเรื่องวิทยาศาสตร์ผ่านมุมมองทางด้านพระพุทธศาสนาโดยได้ แบ่งเนื้อหาไว้ตามประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์