อัตตาณัติกับอนัตตา : การวิเคราะห์ในมุมมองของพุทธปรัชญาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพิจารณาแนวคิดเรื่อง อัตตาณัติ (Autonomy) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีที่มาจากปรัชญาตะวันตก คำว่าอัตตาณัตินี้หมายถึง การที่บุคคลสามารถจะกำหนดตนเองให้สามารถเลือกคุณคุณค่าที่ตนเห็นว่าดีแล้วได้ เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาพิจารณาในปริบทของพุทธปรัชญาเถรวาททำให้เกิดคำถามว่า เมื่อพุทธปรัชญาเถรวาทปฏิเสธอัตตาแล้ว อัตตาณัติจะมีพื้นที่สำหรับการพิจารณาในพุทธปรัชญาเถรวาทได้หรือไม่ เพราะถ้าไม่มีตัวตน บุคคลจะกำหนดใครกัน
บทความนี้ได้ให้เหตุผลว่า “มี” เพราะ (1) แนวคิดเรื่องอัตตาณัติมีความหมายในแง่ของความสามารถในการกำหนดตนเองด้วยคุณค่าที่ตนเองยึดถือ แม้ว่าแนวคิดพื้นฐานในการนิยามตัวตนที่สัมพันธ์กับแนวคิดเรื่องอัตตาณัติของแต่ละทัศนะทางปรัชญาตะวันตกจะมีความแตกต่างกัน แต่ทุกทัศนะเหล่านั้นก็สามารถมีแนวคิดเรื่องอัตตาณัติในความหมายเดียวกันนี้ได้ (2) พุทธปรัชญาเถรวาทปฏิเสธอัตตาด้วยหลักอนัตตา แต่มิได้ปฏิเสธการใช้คำว่า“อัตตา” ที่เป็นสมมติสัจจะโวหารซึ่งใช้แทนคำว่า “ตนเอง” เวลาแสดงถึงการเป็นผู้กระทำของมนุษย์ และ (3) พุทธปรัชญาเถรวาทพิจารณาแนวคิดเรื่องอัตตาณัติในความหมายของอัตตาโดยสมมตินี้เป็นผู้กระทำการกำหนดตนเอง โดยเลือกคุณค่าหรือหลักธรรมที่ตนเองยึดมั่นว่าเป็นคุณค่าที่ดีงามมากำหนดความประพฤติและการกระทำของตนเอง เพราะฉะนั้น แนวคิดเรื่องอัตตาณัติจึงไม่ขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องอนัตตาในพุทธปรัชญาเถรวาทเลย
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2544). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
พระมหาพรชัย สิริวโร. (2559). พุทธจริยศาสตร์เป็นจริยศาสตร์ประเภทอันตวิทยาหรือกรณียธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ 12(2), 49-63.
พระมหาพรชัย สิริวโร. (2562). พุทธจริยศาสตร์เป็นจริยศาสตร์ประเภทอันตวิทยาหรือกรณียธรรม. นนทบุรี: นิติธรรมการพิมพ์
พระมหาสมปอง มุทิโต. (2542). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มิลินทปัญหา. (2549). มิลินทปัญหา. กรุงเทพมหานคร: โสภณการพิมพ์.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2546). ปรัชญาอินเดีย. พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน
Charles Goodman. (2009). Consequences of Compassion: An Interpretation & Defense of Buddhist Ethics. New York: Oxford University Press.
David J. Kalupahana. (1995). Ethics in Early Buddhism. Honolulu: University of Hawaii Press.
Feinberg Joel. (1989). “Autonomy”. In The inner citadel: Essays on Individual Autonomy. ed. by Christman John. New York: Oxford University Press.
Garma C. C. Chang. (1986). The Buddhist Teaching of Totality: The Philosophy of Hwa- Yen Buddhism. University Park, PA: The Pennsylvania State University Press.
Gerald Dworkin. (1989). Theory and Practice of Autonomy. Cambridge: Cambridge University Press.
Harry Frankfurt. (1999). Necessity, Volition, and Love. Cambridge: Cambridge University Press.
Immanuel Kant. (2002), Groundwork of the Metaphysic of Morals. ed. and tr. by Allen W. Wood. New Haven, CT: Yale University Press.
Joerg Tuske.(2013) “The Non-Self Theory and Problems”. In A Companion to Buddhist Philosophy. ed. by Steven M. Emmanuel. London: John Wiley & Sons.
Theptawee Chokvasin. (2007). “Mobile Phone and Autonomy”. In Information Technology Ethics: Cultural Perspectives. eds by S. Hongladarom & C. Ess, Hershey PA: Idea Group.