ธรรมชาติมนุษย์ของโทมัส ฮอบส์ในมุมมองพุทธปรัชญาเถรวาท

Main Article Content

วรรณา พ่วงพร้อม
พระมหามฆวินทร์ ปุริสุตฺตโม

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อวิเคราะห์ธรรมชาติมนุษย์ของโทมัส ฮอบส์ในมุมมองพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า  ฮอบส์มองว่าธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ คือความเห็นแก่ตัว เมื่อมนุษย์เห็นแก่ตัวจึงทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมในด้านการแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง การมีธรรมชาติในด้านการสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองถือว่าเป็นแรงจูงใจอันสำคัญที่สุดของธรรมชาติมนุษย์ การแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองจึงอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ฮอบส์จึงเสนอให้มีทฤษฎีสัญญาทางสังคม (social contract)  เพื่อจัดการความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตัวเองของปัเจกบุคคลที่ได้รับการผลักดันมาจากธรรมชาติคือความเห็นแก่ตัว  ในประเด็นนี้ พุทธปรัชญาเถรวาทให้เหตุผลว่าในสภาวะธรรมชาติมนุษย์ทุกคนเกิดมาบริสุทธิ์ กล่าวคือ ไม่ดีและไม่ชั่วด้านใดด้านหนึ่งทีเดียวแม้ว่าจะมีธรรมชาติด้านที่ดีและชั่วติดตัวมาอยู่แล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้น มนุษย์จึงไม่ได้เห็นแก่ตัวโดยกำเนิด สิ่งที่พุทธปรัชญาเถรวาทถือว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรทำคือการพัฒนาธรรมชาติด้านที่ดี เช่น การมีเมตตา ให้มีพลังเหนือด้านที่ไม่ดี การมีพลังด้านดีเหนือกว่าด้านไม่ดีจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีปัญหาความขัดแย้งอันอาจจะเกิดจากการแสวงหาประโยชน์ของปัจเจกบุคคลได้ เมื่อธรรมชาติส่วนที่ดีได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ธรรมชาติด้านที่ไม่ดีก็จะไม่ได้โอกาสในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ แรงจูงใจในการพัฒนาด้านที่ดีจึงถือว่าเป็นสิ่งเงื่อนไขสำคัญที่สุดในธรรมชาติของมนุษย์ตามมุมมองของพุทธปรัชญาเถรวาท

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต ). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอุทัย ญาณธโร. (2538). พุทธวิถีแห่งสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสาร.
พระศรีคัมภีรญาณ. (2556). พุทธปรัชญา. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2513). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับสยามรัฐ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2525). พระไตรปิฏกพร้อมอรรถกถา แปล. ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2547-2551). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1-8. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุเชาว์ พลอยชุม, สุวิญ รักสัตย์. (ม.ป.ป). พุทธปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 1. มหามกุฎราชวิทยาลัย : นครปฐม.
Leo Strauss. (1965). Natural Right and History. Chicaco: University of Chicago Press.
Thomas Hobbes. (1967). “Leviathan or the Matter”. Form and power of a Commonwealth Ecclesiastical and Civil. edited by Michael Oakeshott with an introduction by Richard S. Peter, New York: Collier Books.