เพศภาวะกับการบวช: ข้อถกเถียงการบวชภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการศึกษาแนวคิดเรื่องเพศภาวะและการบวชผ่านข้อถกเถียงในพระพุทธศาสนาเถรวาท โดยการศึกษาเอกสารและหนังสือ ผลการศึกษาพบว่า การบวชในพระพุทธศาสนาเถรวาทถูกแบ่งแยกเป็นการบวชทางรูปธรรมเป็นการบวชที่มีขั้นตอนและกระบวนการชัดเจน มีศีลเป็นข้อปฏิบัติของการแต่ละอย่าง ขณะที่การบวชทางด้านนามธรรมเป็นการบวชใจ โดยอาศัยการฝึกฝนทางใจ ส่วนเพศภาวะในพระพุทธศาสนาเป็นการกล่าวถึงความเท่าเทียมกัน และการยกย่องสตรีในฐานะที่เป็นผู้มีความฉลาดและคุณธรรม สำหรับข้อถกเถียงเรื่องการบวชเพศหญิงไม่ได้แสดงถึงความเสมอภาคทางเพศเป็นการพิจารณาถึงข้อปฏิบัติที่ไม่เสมอภาคกันนั้นเป็นการมองถึงความไม่เสมอภาคทางสังคม ไม่ได้เกี่ยวกับความเสมอภาคทางธรรม ขณะที่การพิจารณาถึงการบวชภิกษุณีทำให้ศาสนาเสื่อมก็มาจากข้อเท็จจริงทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่หลักปฏิบัติไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของหมู่สงฆ์เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องเพศภาวะแต่อย่างใด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). ตอบ ดร.มาร์ติน: พุทธวินัยถึงภิกษุณี. กรุงเทพมหานคร: หจก.สามลดา.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พระพรหมบัณฑิต. (2561). พระไตรปิฎกฉบับสากล : วิถีธรรมจากพุทธปัญญา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). ตอบ ดร.มาร์ติน: ดลถิ่นอริยชน สตรีหลุดพ้น ขึ้นเหนือมหาพรหม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พุทธทาสภิกขุ. (2543). บวชทำไม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: หจก.เอมี่เทรดดิ้ง.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2527). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
เมตตานนฺโท ภิกฺขุ. (2545). เหตุเกิด พ.ศ.1 เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงพระอาทิตย์.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559). วัฒนธรรมร่วมอุษาคเนย์ในอาเซียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นาตาแฮก.
Peter Harvey. (2000). An Introduction to Buddhist Ethics. Cambridge: Cambridge University Press.