แนวคิดเรื่องโยคะในภควัทคีตา:การศึกษาเชิงวิเคราะห์

Main Article Content

วณิชยา ปรือปรัก
มานพ นักการเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโยคะในปรัชญาอินเดีย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตา 3) เพื่อวิเคราะห์ข้อโต้แย้งแนวคิดเรื่องโยคะในคัมภีร์ภควัทคีตา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวคิดเรื่องโยคะในปรัชญาอินเดีย แนวคิดลัทธิโยคะมุ่งเน้นภาดปฏิบัติตามแนวทางแห่งภักดีโยคะ กรรมโยคะ และ ชญาณโยคะ ให้ความหมาย มุ่งเน้น วิธีการฝึกจิตให้บริสุทธิ์ นำไปสู่วิเวกญาณเท่านั้น จึงจะบรรลุโมกษะได้  2) เรื่องโยคะ ในคัมภีร์ภควัทคีตา มุ่งสอนให้มนุษย์ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ แสวงหาการหลุดพ้น ในท่ามกลางความวุ่นวายในสังคม สนับสนุนการทำหน้าที่ เพื่อให้โลกดำรงอยู่ได้ เน้นเรื่องกรรมมุ่งไปที่พระเจ้า เป็นการอ้างถึงสิ่งสมบูรณ์ มากกว่าจะพิจารณาไปที่การกระทำ ดุจน้ำบนใบบัวที่บาปนั้นไม่อาจแทรกซึมในชีวาตมันได้ เพราะมนุษย์ได้ถูกกำหนดให้ทำกรรม ตามหน้าที่ อันเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ ตามแนวทางปฏิบัติหลัก กรรมโยคะ และชญาณโยคะที่เชื่อมโยงระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เพื่อนำชีวาตมันเป็นส่วนหนึ่งของพรหมัน 3. ข้อโต้แย้งเรื่องกรรมโยคะและชญาณโยคะ ศังกราจารย์มุ่งเน้นชญาณโยคะอย่างเดียว ขณะที่รามานุชะรวมเอาทั้งชญาณโยคะ กรรมโยคะและภักติโยคะไว้ในด้วยกัน โยคะในคัมภีร์ภควัทคีตาตรงกับวิธีการอธิบายโยคะของรามานุชะมากกว่าจะเป็นไปในแบบของศังกราจารย์ เพราะชญาณโยคะเป็นสิ่งที่ปุถุชนเข้าใจได้ยาก นอกจากนักบวชเท่านั้นที่เข้าใจได้ การใช้กรรมโยคะและภักติโยคะเพื่อเข้าถึงชญาณโยคะผ่านการทำหน้าที่เป็นการอธิบายที่เข้าใจได้ง่ายกว่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณไทวปายนวยาส. (2561). ภควัทคีตา. แปลโดย สมภาร พรมทา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.

ฟื้น ดอกบัว.(2545). ปวงปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพ: ศยาม.

ทองหล่อ วงษ์ธรรมมา. (2549). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

พระมหาวันดี กนฺตวีโร (ปะวะเส). (2563). “การวิเคราะห์อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตา”. พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาปรัชญา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

แม่ชีจำเนียร แสงสิน. (2547). “การศึกษาเปรียบเทียบสมาธิในคัมภีร์โยคะสูตรกับคัมภีร์พระสูตรตปิฏก”. ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ไวภพ กฤษณสุวรรณ, พระศรีรัตโนบล และคงสฤษฎ์ แพงทรัพย์. (2564). ศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเรื่องการเกิดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูกับพุทธศาสนาเถรวาท. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 4(1), หน้า 20-34.

J.A.B.Van Buitenen. (1968). Ramanuja on the Bhagavadgita: A condensed rendering of his Gitabhasya with copious Notes and an Introduction. Delhi: Motilal Banarsidass.

Sri Sankaracharya. (1901). The Bhagavadgita. trans. by A. Mahadeva Sastri. 2nd edition. Mysore: The G.T.A. Printing Works.

Sri Swami Sachidananda. (2019). The Yoga Sutras of Patanjali. 8th Printing. Buckingham: Integral Yoga Publications.

Eleni Boliaki. (2012). Jnana, Bhakti, and Karma Yoga: Sankara and Ramanuja on the Bhagavad-Gita. theology, 1, p.326.

SHARMA ARVIND. (1986). The Hindu Gita: Ancient and classical interpretations of the Bhagavadgita. Illinois: Open Court.

Ellen Jane Briggs. (2008). Freedom and Desire in the Bhagavad Gita. Dissertation presented to Faculty of the Graduate School. The University of Texas at Austin.