การวิเคราะห์การทำหน้าที่ของภาษาที่ใช้ในสังฆกรรม ในทรรศนะพุทธปรัชญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องวัจนกรรม 2) เพื่อศึกษาการทำหน้าที่ของภาษาที่ใช้ในสังฆกรรม 3) เพื่อวิเคราะห์เชิงวิพากษ์การทำหน้าที่ของภาษาที่ใช้ในสังฆกรรมในทรรศนะพุทธปรัชญา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์เนื้อหา ประเมินเหตุผลแล้วสรุปเป็นงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดวัจนกรรมของออสตินไม่ได้มองภาษาว่ามีเพียงค่าความจริงกับเท็จเท่านั้น แต่ภาษาสามารถกระทำการบางสิ่งบางอย่างได้ ส่วนแนวคิดของเซิร์ลมองการสื่อสารด้วยภาษาของมนุษย์ว่าจะต้องมีเจตนาในการสื่อสาร 2) ภาษาที่ใช้ในสังฆกรรมเมื่อมองผ่านแนวคิดของออสตินจะมีลักษณะเป็นวัจนกรรมที่ทำหน้าที่สืบต่อกันไปบนเงื่อนไขที่จำเป็นของสังฆกรรม แต่เมื่อมองผ่านแนวคิดของเซิร์ลที่เห็นว่าวัจนกรรมย่อมต้องเกิดขึ้นมาจากสภาวะทางจิตวิทยาที่เป็นตัวผลักดัน ดังนั้น ภาษาที่ใช้ในสังฆกรรมจะมีวัจนกรรมที่เป็นการตอบสนองจากผู้ฟังที่นำไปสู่ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม แนวคิดเหล่านี้ไม่สามารถใช้อธิบายการใช้ภาษาในสังฆกรรมของผู้ที่ไม่มีความเข้าใจความหมายของภาษาได้ 3) การทำหน้าที่ของภาษาที่ใช้ในสังฆกรรมในทรรศนะพุทธปรัชญานั้น ไม่ได้มีเพียงองค์ประกอบที่อนุญาตให้สังฆกรรมดำเนินการได้เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ในการแสดงวัจนกรรมแก่ผู้ที่มีความเชื่อในภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้ในสังฆกรรมนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม วัจนกรรมที่เกิดขึ้นในสังฆกรรมของผู้ที่รู้ความหมายของภาษากับผู้ที่ไม่รู้จะมีความแตกต่างกัน อย่างแรก วัจนกรรมจะมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเจตนา ส่วนอย่างหลังจะเน้นไปที่การใช้ความรู้สึก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
A.P. Martinich (1996). The Philosophy of Language. New York: Oxford University Press, Inc.
J.L. Austin (1962). How to do Things with Words. London: Oxford University Press.
J.L. Austin. (1979) Performative Utterances. In A.P. Martinich (Ed.), The Philosophy of Language (pp. 120-129). New York: Oxford University Press, Inc.
John R. Searle. (1965). What Is a Speech Act. In A.P. Martinich (Ed.), The Philosophy of Language (pp. 130-140). New York: Oxford University Press, Inc.
John R. Searle (1999). Mind, language and Society philosophy in the real world. New York: Basic books.
John R. Searle. (1979). A Taxonomy of Illocutionary Acts. In A.P. Martinich (Ed.), The Philosophy of Language (pp. 141-155). New York: Oxford University Press, Inc.
Maha Thera Ledi Sayadaw (2004). The manuals of Buddhism (The expositions of the Buddha – Dhamma). Yangon: Mother Ayeyarwaddy Publishing House.