การพัฒนารูปแบบการนิเทศครูผู้สอนปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตร การศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ในโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศครูผู้สอนปฐมวัย เพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างเลือกสุ่มแบบเจาะจง ได้แก่ โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 7 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหา ได้แก่ผู้บริหารและครูผู้สอนระดับอนุบาล โรงเรียนละ 5 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นโรงเรียนปฏิบัติการทดลอง ผู้ร่วมปฏิบัติการ ได้แก่ ผู้อำนวยการ จำนวน 1 คน หัวหน้างานกิจการนักนักเรียนระดับอนุบาล จำนวน 1 คน และครูผู้สอนระดับอนุบาล 1-3 จำนวน 11 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 13 คน สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-dependent) ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศครูผู้สอนปฐมวัย เพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ในโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย รูปแบบการนิเทศครูผู้สอนปฐมวัย ประกอบด้วย (1) วางแผนการนิเทศการจัดประสบการณ์ (2) ปฏิบัติตามแผน (3) ติดตามและประเมินผล และ (4) สะท้อนผล เรียกชื่อว่า “P-PER Model” ผลการประเมินรูปแบบมีค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 1.00 เปรียบเทียบผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการใช้รูปแบบในด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า อยู่ในระดับมาก และมีข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบไปใช้เพื่อเป็นนวัตกรรมทางการบริหารการศึกษาต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
จิระภา ธรรมนำศีล. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชบา พันธุ์ศักดิ์ และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศครูผู้สอนปฐมวัยเพื่อจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1. (รายงานการวิจัย). สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2560). การบริหารงานวิชาการและการนิเทศภายในสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2566). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิภาภรณ์ สร้อยคำ. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ศศิมา สุขสว่าง. (2563). การพัฒนานวัตกรรมในองค์กร Innovation in Organization. กรุงเทพฯ: บริษัท เอชซีดี อินโนเวชั่น จำกัด.
Harris, Alison Marie. (1998). School-Community Relationship: A Namibian Cast Study. Dissertation Abstracts International, 36(6), 1437-A.