ศึกษาเปรียบเทียบคติเกี่ยวกับความตายและการจัดการศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

Main Article Content

พระครุสังฆรักษ์ธนวัฒน์ เตชธมฺโม (ขำเมือง)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาคติเกี่ยวกับความตายและการจัดการศพในพระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาคติเกี่ยวกับความตายและการจัดการศพพิธีศพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคติเกี่ยวกับความตายและการจัดการศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก คัมภีร์พระเวท งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีทัศนะเหมือนกันว่า พิธีศพเป็นพิธีกรรมที่บุคคลผู้ยังมีชีวิตอยู่ประกอบขึ้นเพื่ออุดหนุนส่งเสริมให้ผู้ที่สิ้นชีพไป ดำเนินไปสู่วิถีทางแห่งสุคติตามที่ผู้มีชีวิตอยู่หวังไว้ ส่วนความแตกต่างกันนั้น (1) พระพุทธศาสนาเป็นเพียงทำบุญเพื่อส่งเสริมให้ผู้ตายเท่านั้น (2) ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มุ่งอ้อนวอนให้เทพเจ้าประทานในสิ่งที่ตนปรารถนาให้ผู้ตายมีความสุข ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พิธีศพของผู้บริสุทธิ์ เช่น นักบวช และพิธีศพของบุคคลทั่วไป ในประเด็นที่ต่างกัน พระพุทธศาสนาแบ่งเป็นพิธีศพของนักบวชกับฆราวาสและมีรายละเอียดในการประกอบพิธีแตกต่างกันตามวุฒิ ฐานันดรศักดิ์ แต่โดยภาพรวมแล้วจะเน้นการเผาเป็นสำคัญไม่เลือกชั้นวรรณะ และยศศักดิ์ ส่วนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู แบ่งประเภทพิธีศพออกเป็น 2 โดยกล่าวถึงพิธีศพที่ไม่เผาสำหรับผู้ที่นับว่า บริสุทธิ์ เช่น นักบวช และพิธีศพที่เผาเป็นพิธีทั่วไป แต่บุคคลทั้งปวงและมีการแบ่งระดับชั้นของพิธีศพตามวรรณะทางสังคม แต่ทั้งนี้ก็มีวิธีการตามความเชื่อทางศาสนาเหมือนกัน คือ การเผาและนำไปลอยในแม่น้ำคงคา เพื่อจะนำดวงวิญญาณไปสู่สรวงสวรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชรินทร์ สันประเสริฐ. (2540). มนุษย์กับสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยวุฒิ พิยะกุล. (2553). ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบริเวณลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. รายงานวิจัย. สถาบันทักษิณคดีศึกษา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิศาสนาและระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮาส์.

นิรันดร ชัยนาม. (2512). ประเพณีและวัฒนธรรมของเชียงใหม่และลานนาไทย. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ปราณี วงษ์เทศ. (2534). พิธีกรรมเกี่ยวกับการตายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ฟ.

พระครูคุณสารสัมบัน. (2545). พิธีกรรมต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณี. กรุงเทพมหานคร: จิระการพิมพ์.

พระเทพวิสุทธิเมธี. (2536). มรณานุสติ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระนพดล สุทฺธิธมฺโม. (2560). ศึกษาเปรียบเทียบพิธีศพในพระพุทธศาสนาเถรวาทกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศาสนาเปรียบเทียบ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาคำรบ ธมฺมธโร (หิรัญชาติ). (2547). มโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในพระพุทธศาสนา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาประมวล ฐานทตฺโต (บุลาคม). (2548). พาราณสีคืออินเดียแท้. นนทบุรี: บริษัท สำนักพิมพ์ร่มธรรม จำกัด.

พระราชวิสุทธิโสภณ. (2521). กรรมทีปนี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ พิฆเนศ.

พระสมุห์มงคล เกสโร (ดีมาก). (2551). ศึกษาปริศนาธรรมจากพิธีกรรมงานศพ: ศึกษาเฉพาะกรณีพิธีกรรม งานศพในอำเภอคลองขลุงจังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอารดินทร์ เขมธมฺโม (รัตนภู). (2549). การศึกษามโนทัศน์เรื่องความตายของพระกฤษณมูรติ.(วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 10, 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.