การศึกษาเปรียบเทียบการรักษากายและจิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต: กรณีศึกษาสถาบันพลังจิตตานุภาพสาขา 6 จังหวัดสมุทรปราการ กับค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรมสวนป่านาบุญ 3 จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อำนาจ ชัยชลทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการรักษากายและจิตในทางพระพุทธศาสนาเถรวาทในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาแนวคิดวิถีพัฒนาคุณภาพชีวิตของสถาบันพลังจิตนุภาพสาขา 6 และแพทย์วิถีธรรมสวนป่านาบุญ 3 และ 3) เพื่อเปรียบเทียบการรักษากายและจิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ และการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง เช่น นักวิชาการทางศาสนา นักวิชาการการแพทย์แผนไทย และกลุ่มผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า การรักษากายและจิตในทางพระพุทธศาสนาเถรวาทในสังคมไทย เป็นการอ้างถึงดุลยภาพของร่างกายของเรา ด้วยว่าชีวิตของมนุษย์เรานี้มีกายกับใจ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีดุลยภาพของใจด้วยอีกส่วนหนึ่ง ทั้งกายและใจต่างก็ต้องมีดุลยภาพนี้ สถาบันพลังจิตตานุภาพและแพทย์วิถีธรรมเป็นสถานที่ในการพัฒนากายและจิตจึงเป็นไปด้วยกันในแง่ของการสร้างบุญให้กับตนเองและต่อยอดด้วยการต่อบุญให้คนอื่นได้รับต่อไปด้วยการขยายพื้นที่ หรือขยายโอกาสให้กับคนอื่นๆ ด้วยการให้ด้วยการบอก และด้วยการส่งต่อบุญในฐานะครูอาจารย์ที่แนะนำสิ่งดีงามให้กับผู้อื่น อีกทั้งยังสร้างเครื่องอยู่ด้วยการปรับสมดุลระหว่างกายและใจ รวมถึงสร้างสถานที่เหมาะสมจนนำไปสู่การทำให้ร่างกายและจิตใจพัฒนาขึ้นมีความสุขและโรคภัยทางกายเบาบางลงจนสามารถทำประโยชน์เพื่อสังคม ทั้งสองสถาบันได้เสนอแนวคิดเรื่องการรักษากายและจิตในแง่ของการอาศัยกันและกัน ส่วนหลักธรรมในการรักษากายและจิตต้องใช้หลักธรรมในการพัฒนาตนเองและการอยู่ร่วมกันเป็นหลัก สุดท้ายวิธีการปฏิบัติเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตก็คือต้องทำให้กายและใจดีขึ้น ด้วยการสร้างหลักสูตรในการปฏิบัติที่ชัดเจนอันเป็นการสร้างการรักษาแบบองค์รวม ไม่ใช่แยกจากกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรเดช ดิสกะประกาย และคณะ. (2553). คนสุวรรณภูมิ. กรุงเทพมหาคร: นำอักษรการพิมพ์.

ใจเพชร กล้าจน. (2553). ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ใจเพชร กล้าจน. (2558). จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.

นิตยาภรณ์ สุระสาย. (2563). รูปแบบการบูรณาการวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์วิถีธรรม. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). การแพทย์ยุคใหม่ในสมัยพุทธทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ 13. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิวลี ศิริไล. (2565). การเป็นแพทย์จากฮิปโปรกราตีสสู่ยุคโลกาภิวัฒน์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหา นคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัคชญา บุญเฉลียว. (2564). ศึกษาวิเคราะห์คุณภาพชีวิตของครูสมาธิสถาบันพลังจิตตานุภาพจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(2), 141-154.

สมเด็จพระญาณวชิโรดม. (ม.ป.ป.). ชีวิตคือการต่อสู้ อัตตชีวประวัติโดย สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร). กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

อาทิชา วงศ์สุวรรณ. (2555). คุณค่าและการสืบทอดโอสถวิถีไทย: วิถีแห่งการพัฒนาสุขภาพองค์รวม. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย). คณะครุศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.