ระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

พระครูปลัดคเณศ ปภสฺสโร (ทองผา)
สมชัย ศรีนอก
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์      2) ศึกษาการพัฒนาระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) ทดลองระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4) ประเมินและรับรองประสิทธิภาพระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในอำเภอบางบ่อ จำนวน 3 โรงเรียน จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 34 คน สัมภาษณ์ จำนวน 10 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความพึงพอใจและแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัยๆได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test dependent samples  ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ความรู้ระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยพบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ 1) ด้านผู้สอน 2) ด้านเนื้อหา 3) ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ 4) ด้านการวัดและประเมินผล 5) ด้านสื่อการเรียนการสอน 6) ด้านผู้เรียน 2. ผลการพัฒนาระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.22, S.D.=0.75) 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน  สูงกว่าก่อนเรียน คือ 31.45/48.45 มีค่าสถิติ t = 70.96 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .054. ผลการประเมินและรับรองประสิทธิภาพระบบการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.35, S.D.=0.30)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยาและปรียานุช พิบูลสราวุธ. (2552). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2567). ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา. สืบค้นหาข้อมูลเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 จาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000116/4- techno/article/1-academic/42.pdf.

นิคม กกขุนทด. (2553). การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ปริญญา ยวงทอง. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรื่อง ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิเชียร เกตุจันทร์. (2552). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง นักอ่านแผ่นที่วิชาพิเศษลูกเสือ สำรอง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. ปีที่ 14 ฉบับที่ 34 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2563) : 285-298.

สมฤดี พิพิธกุล. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.