การพัฒนาคู่มือการใช้สมุนไพรท้องถิ่นในการรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้น สำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก ตำบลโนนห้อม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจปัญหาและความต้องการใช้สมุนไพรท้องถิ่นรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก 2) พัฒนาคู่มือการใช้สมุนไพรท้องถิ่นรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก 3) ประเมินความพึงพอใจการใช้สมุนไพรท้องถิ่นรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้นสำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก เป็นการวิจัยผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัยคือ ชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก ตำบลโนนห้อม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 214 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรท้องถิ่น 5 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสำรวจปัญหาและความต้องการใช้สมุนไพรท้องถิ่นสำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก พบว่า ประชากรชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก หมู่ที่ 12 อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรีได้สนใจนำสมุนไพรท้องถิ่นมารักษาโรคมากขึ้น โดยนำต้มดื่มเป็นน้ำสมุนไพร ใช้น้ำสมุนไพรนวดและแช่เท้า รวมทั้งเป็นศูนย์บริการชุมชน 2. การพัฒนาคู่มือการใช้สมุนไพรท้องถิ่นสำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก ตำบลโนนห้อม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี พบว่า 1) ด้านความรู้เรื่องการใช้สมุนไพร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.34, S.D. = 0.22) 2) ด้านการรับรู้ประโยชน์สมุนไพร ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.33,S.D.=0.71) 3) ด้านความพึงพอใจในการใช้สมุนไพร ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (= 4.35,S.D.=0.67) 3. การประเมินความพึงพอใจการใช้สมุนไพรท้องถิ่นสำหรับชุมชนบ้านทุ่งตะลุมพุก พบว่าความพึงพอใจคู่มือการใช้สมุนไพรอยู่ในระดับมากที่สุดและความพึงพอใจในการใช้สมุนไพรระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
ฐาปนี เลขาพันธ์และจุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2557). การจัดการความรู้ด้านสมุนไพร กรณีศึกษากลุ่มสมุนไพรบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีรพงษ์ มหาวีโร. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ไทย-ภาวะเศรษฐกิจ.กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สุวีริยา.
ปัทมา ศิริวรรณ. (2559). ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ และการใช้ยาสมุนไพรของผู้ให้บริการและผู้รับบริการในโรงพยาบาลแม่ทา อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิริญญา เมืองช้าง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพรไทย: รวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). “สถิติสุขภาพ”. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 จาก http://statbbi.nso.go.th.
สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2550). คู่มือหมอชาวบ้าน. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
องค์การบริหารส่วนตำบลโนนห้อม. (2567). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 6 พฤษภาคม 2567 จากhttps://www.tambolnonhom.go.th/.