ระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อมบริเวณอุทยานเขากระโดงด้วยพลังบวร ของวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อมบริเวณอุทยานเขากระโดง 2) สร้างและพัฒนาระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อมบริเวณอุทยานเขากระโดงด้วยพลังบวรของวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ เป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ ด้านด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพลังบวร ด้านป่าไม้ ผู้นำชุมชน และชาวบ้าน จำนวน 17 คน กลุ่มประชากรทดลอง ได้แก่ พระสงฆ์ ประชาชน นิสิต นักศึกษา และเยาวชน จำนวน 25 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่มเป็นแนวคำถามที่มีประเด็นสนทนาเพื่อให้ได้ข้อมูลในการสร้างการพัฒนาระบบ และแบบสอบถาม เป็นลักษณะแบบประเมินกิจกรรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบเกี่ยวกับระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อมบริเวณอุทยานเขากระโดง ประกอบด้วย บ้าน วัด โรงเรียน ที่อยู่บริเวณอุทยานเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) การสร้างรูปแบบหรือขั้นตอนในการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อมบริเวณอุทยานเขากระโดงด้วยพลังบวร โดยมี LUANG TA KOB MODEL เป็นผู้นำในการทำกิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมปลูกป่าปลูกศรัทธา กิจกรรมจิตอาสาอนุรักษ์ผืนป่า กิจกรรมถ่ายภาพเชิงอนุรักษ์ กิจกรรมบวชป่าร่วมกับชุมชน กิจกรรมวิ่งปลูกป่า กิจกรรมสร้างฝายชะลอน้ำ กิจกรรมปฏิบัติธรรมร่วมกับป่า และกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3) ผลการทดลองระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อม มี จำนวน 8 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละของจำนวนข้อที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่พิจารณาก่อนทดลองใช้ (6 x 100 / 60 = 74) อยู่ในระดับคุณภาพพอใช้ หลังจากการทดลองใช้ (10 x 100 / 10 = 100) อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก 4) ผลการประเมินระบบการอนุรักษ์ธรรมชาติทรัพยากรสิ่งแวดล้อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.62, S.D.=0.67) และอยู่ในระดับมากที่สุดในทุกๆ ด้าน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
ข้อความในบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และข้อคิดเห็นนั้นไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์
References
ก้องไพร ตันสุชาติ. (2566). ศึกษาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนจากโครงการสวนสัตว์กลางคืน จังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail? Resolve_DOI=10.14457 /CMU.the.2007.644.
ธเนศ เกษศิลป์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อทัศคติและพฤติกรรมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใกล้คลองสาธารณะกรณีศึกษาโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระโอรสาธิราชฯสยามมกุฏราชกุมาร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 10(3), หน้า 283-296.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2529). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันเพ็ญ สุรฤกษ์. (2550). การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. เชียงใหม่: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิชัย เทียนหอม. (2533). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : อักษรวัฒนา.
สวัสดิ์ ทวีรัตน์. (2543). ความพึงพอใจในงานที่ต้องปฏิบัติของพนักงานพิทักษ์ป่าประจำอุทยานแห่งชาติในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการเกษตรและป่าไม้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
เสฐียร โกเศศ. (2521). ชีวิตชาวไทยสมัยก่อนและการศึกษาเรื่องประเพณีไทย. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา.
อภิชาต ทองอยู่. (2431). ทัศนะว่าด้วยวัฒนธรรมชุมชนทางเลือกใหม่ในการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สถาบันคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2536). คนกับดิน น้ำ ป่า จุดเปลี่ยนแห่งความคิด. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.