การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

Main Article Content

ศิริลักษณ์ สมพงศ์
พระศรีวชิรวาที

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2  3) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง คือจำนวนผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารบุคคล 1 คน และครูผู้สอน 2 คน รวมทั้งสิ้น 368 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 92 โรงเรียน สุ่มโดยการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน การสุ่มกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลตามแนวทางของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานตามแนวคิดของกมลรัตน์ หล้าสุวงษ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานบุคคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้แก่ ด้านการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจสำหรับครูและบุคลากรในสถานศึกษา ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้าน ได้ร่วมกันทำนาย แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ได้ร้อยละ 41.0 (R2 = 0.405) ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์การถดถอยพหุคูณได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ𝑌 ′ = 1.591 + .569 (X4) +.158 (X3) + .082 (X2) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน 𝑍’ = .583 (X4) + .154 (X3) +.096 (X2)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา,กระทรวงศึกษาธิการ.

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2541). การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร.

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. แผนปฏิบัติการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 ประจำปีงบประมาณ 2565. (2566). สืบหาข้อมูล เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 จากttps://www.npt2.go.th/frontpage.

พระสุมิตร ฉฺนทสาโร (พยัคชน). (2561). การศึกษาการบริหารงานบุคคลตามหลักทศพิธราชธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วรรณิศา อ่อนประสพ. (2562). การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

ศุภลักษณ์ ตรีสุวรรณ. (2548). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2552). มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

Cronbach Lee Joseph. (1974). Essentials of Psychological testing. New York: Harper and Row.