การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือแบบ 4 MATสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือแบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนการสอนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ โดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 22 คน ที่เรียนรายวิชา ซึง-สะล้อ (เลือกเสรี) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ 4 MAT แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนการสอนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test แบบ dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
- กิจกรรมการเรียนการสอนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือแบบ 4 MAT รายวิชา ซึง-สะล้อ (วิชาเลือกเสรี) เรื่อง ซึงลูก 4 ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 20 ชั่วโมง 3 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 รู้จักวงซึง-สะล้อ จำนวน 1 แผน 2 ชั่วโมง หน่วยที่ 2 ฟังเสียงซึงลูก 4 จำนวน 1 แผน 8 ชั่วโมง และหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ฟังเพลงเหนือ จำนวน 1 แผน 8 ชั่วโมง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้นตอน คือ 1 ขั้นการสร้างประสบการณ์ 2. ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์ 3. ขั้นการบูรณาการประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด 4. ขั้นการพัฒนาทฤษฎีและความคิดรวบยอด 5. ขั้นการลงมือปฏิบัติตามความคิดรวบยอด 6. ขั้นปรับแต่งเป็นแนวคิดของตนเอง 7. ขั้นการวิเคราะห์เพื่อเห็นประโยชน์หรือการประยุกต์ใช้ และ 8. ขั้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่น
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบ 4 MAT มีเจตคติต่อการเรียน การสอนดนตรีพื้นเมืองภาคเหนืออยู่ในระดับ มาก