การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พระชินกร สุจิตฺโต (ทองดี)
สุกิจ ชัยมุสิก
ชวลิต ไหลรินทร์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของบุคลากร ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา  สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บุคลากร ได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ      วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 544 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร ยามาเน่ จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบปลายปิดและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า (One–Way ANOVA ) และทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference) LSD


              ผลการวิจัยพบว่า


              1) บุคลากรมีความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมทั้ง  4  ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านวิริยะ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านฉันทะ ส่วนด้านวิมังสา  มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมาก


              2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของบุคลากร ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน พบว่า ไม่แตกต่างกัน


3) ศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอ      วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า ด้านจิตตะ มีความถี่มากที่สุด คือ ควรมีความเข้าใจถึงความต้องการใส่ใจและให้ความสำคัญกับงานทุกชิ้นที่เข้ามาหา เอาใจใส่ในการทำงานทั้งตนเองและในทีมงาน รู้คิดและวิเคราะห์ถึงงานที่ทำทุกอย่าง ว่าให้ผล

Article Details

บท
บทความวิจัย