พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน

Main Article Content

ณฐพนธ์ คงศิลา
สุรพล สุยะพรหม
สุรินทร์ นิยมางกูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในในการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร โดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12 เขต จำนวน 219 คน โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะ


ผลการวิจัยพบว่า


1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการบริการสาธารณะแก่ชุมชนในท้องถิ่น รองลงมา คือ ด้านสุขภาพและสวัสดิการชุมชน


2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร พบว่า การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนสามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 77.5 และหลักอปริหานิยธรรม 7 ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร หลักอปริหานิยธรรม 7 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงานของกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 47.5


3. รูปแบบการบูรณาการหลักอปริหานิยธรรม 7 ของกรุงเทพมหานคร พบว่า หมั่นประชุมอย่างเนืองนิตย์ พร้อมใจกันทำกิจอันเหมาะสม ทำตามกฎกติกาของสังคม ไม่ยกตนเหนือผู้ใด ไม่ละเลยต่อหน้าที่ รักสามัคคี มีวินัย คนดี มีน้ำใจ เชิดชูไว้ในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารีรัตน์ ปรกแก้ว และคณะ. (2546). โครงการศึกษาและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน

ระหว่างโรงเรียนในระบบกับชุมชนเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่ภูมิปัญญา

ท้องถิ่นบุรีรัมย์ ในเขตการเคลื่อนไหวของโรงเรียนชุมชนอีสาน (รายงานวิจัยฉบับย่อ). กรุงเทพฯ :

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เจริญชัย กุลวัฒนาพร และคณะ. (2564). รูปแบบการจัดการคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรม

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10 (2),

-113.

ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช. (2564). รูปแบบการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวบนพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษในจังหวัด

สงขลา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และคณะ. (2564). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. [Online]. Available :

https://www.wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. [2564, กุมภาพันธ์ 4].

พระปลัดเทียน พลวุฑฺโฒ (คำพงษ์). (2557). การส่งเสริมจริยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคเหนือ

ตอนบน. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจย

วิชาการ, 2 (2), 101-106.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2561). แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี ระยะที่ 2 (2561-2565).

กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์.

เสนอ อัศวมันตา. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการตามหลักอปริหานิยธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

นนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.