การขยายผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา

Main Article Content

ประยูร บุญใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 58 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม การขยายผลใช้แบบแผนการทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบวัดคุณลักษณะที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบบันทึกสะท้อนการเรียนรู้หลังการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ การทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่อิสระกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


1. ครูกลุ่มขยายผลมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบ และหลังได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


2. ครูกลุ่มขยายผลมีทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ครูกลุ่มขยายผลมีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หลังได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนได้รับการพัฒนาโดยใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


4. ความคิดเห็นของครูกลุ่มขยายผลต่อการเข้าร่วมการพัฒนาตามรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะที่สร้างขึ้น พบว่า ครูมีความพึงพอใจในระดับมากต่อกระบวนการของรูปแบบ เกิดความตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ของการจัดการเรียนรู้ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมมือรวมพลังกับเพื่อนร่วมวิชาชีพอย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาชุดความคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่เพิ่มสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). สถิติข้อมูล

ทางการศึกษา ปีการศึกษา 2562. [Online]. Available : http://www.bopp.go.th/?page_id=871.

, พฤษภาคม 1].

ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษา

แนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พิเชษฐ ยังตรง. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานใน

ศตวรรษที่ 21.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พีชญาณ์ พานะกิจ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ

แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา.

วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8 (2), 192-204.

วิจารณ์ พานิช. (2557). สร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ส เจริญการพิมพ์.

วีระชัย ศรีวงษ์รัตน์ และศิริศักดิ์ จันฤาชัย. (2560) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารการวัดผลการศึกษา,

(1), 191-200.

ศิริพร ศรีปัญญา. (2560). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู

ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมหญิง สายธนู. (2560). คู่มือครูอาชีพ (ฉบับย่อ) ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี -สฤษดิ์วงศ์.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย.

กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งแอนพับลิสซิ่ง.

อุษา มะหะหมัด และมาเรียม นิลพันธุ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเน้นภาระงาน

เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 7 (2), 163-173

UNESCO Bangkok Asia and Pacific Regional Bureau for Education. (2016). Preparing and Supporting

Teachers in the Asia-Pacific to Meet the Challenges of Twenty-first Century Learning :

Regional Synthesis Report. [Online]. Available : https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/

pf0000246852. [2018, April 1].